ตามรอยล้อ มาสด้า 2 รีวิวทดลองขับรุ่นใหม่ปี 2020 ณ สนามช้างฯ

รีวิวรถยนต์ใหม่

โดย.เตมีย์ ลิ้มตระกูล

กรุงเทพฯ  15 มกราคม 2563

ท่ามกลางสภาพอากาศช่วงปลายปีระหว่างเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนธันวาคมเดือนสุดท้ายปลายปี 2562 ที่ผ่านมา อุณหภูมิอากาศ เริ่มลดลงทำให้คนไทยได้สัมผัสกับความหนาวเย็นได้ทั่วไทยในรอบหลายปี แต่กับอุณหภูมิการค้าของตลาดรถยนต์ประหยัดน้ำมันและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ“อีโค คาร์” และรถยนต์ขนาดเล็กหรือ บี คาร์ นั้นสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง กลับร้อนถึงร้อนมากเข้าขั้นเดือดเลยก็ว่าได้ ด้วยเพราะหลายค่ายเตรียมแผนการขายขยายแคมเปญเกณฑ์มันสมองปะลองปัญญา พลิกแพลงแต่งโปรดักส์ที่เข้าข่ายรายการนี้เตรียมทัพจับเด็กในสังกัดมาปัดแก้มแต่งหน้าทาปากฟิลเลอร์หน้าให้ยกกระชับ ร้อยไหม ดึงแก้มให้ป่องเปล่งเนียนตึง ขึงท้ายไสก้นให้กลมกลึง อัพเกรดลง โปรแกรมซอร์ฟแวร์ให้ทันสมัยใส่เทคโนโลยีใหม่ๆลงไป แล้วนำขึ้นเวทีที่โชว์รูมรถใหม่ในราคาแทบจะเท่าเดิมพร้อมกับปรากฎการ์ณการหดหายของถยนต์ บีคาร์เพื่อไปเกิดใหม่ในตลาดรถยนต์ อีโค คาร์ (ที่ราคาไม่ถูก นิยามของอีโค คาร์ ไม่ใช่รถยนต์ราคาถูก) 

รีวิวทดลองขับมาสด้า2

“อีโค คาร์” หรือ Eco car ย่อมาจากคำว่า Ecology Car คำจำกัดความของคำนี้มีที่มากจากภาครัฐฯ (มีผลบังคับใช้เมื่อปีพ.ศ.2009) จัดโครงงานตั้งโจทย์ให้ค่ายรถยนต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างรถยนต์ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นรถยนต์สำหรับคนเมืองนัยว่าจะสามารถลดทั้งปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและสามารถช่วยลดมลพิษในอากาศโดยมีข้อแม้จูงใจค่ายรถยนต์ว่าถ้าทำได้ภาครัฐจะจัดการลดหย่อนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีนิติบุคคลส่งผลให้ค่ายรถยนต์สามารถลดต้นทุนการผลิตทำให้สามารถขายรถยนต์ Ecology Car ได้ในราคาถูกลง แต่ก็ต้องแลกด้วยเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท จำนวนการผลิตต้องไม่น้อยกว่า 100,000 คัน/ปี (เมื่อไลน์การผลิตขึ้นปีที่5) รวมถึงต้องผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ในประเทศบางส่วน เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้นทั้งตอนนั้นยังมีโครงการ”รถคันแรก”ช่วยกระตุ้นเข้าอีก จนคนไทยเข้าใจความหมายคำว่า “Ecology Car” เพี้ยนไปเป็น “Economy Car” โดยมียอดจำหน่ายไปเกือบ 470,000 คันในปี 2012 สูงเป็นอันดับ2 รองจากยอดจำหน่ายรถปิกอัพ

รีวิวทดลองขับมาสด้า2

โดยข้อจำหนดที่ภาครัฐจำกัดความไว้ต้องเป็นรถยนต์ที่มี ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,300 ซี.ซี.สำหรับหรับเครื่องยนต์เบนซิน และไม่เกิน 1,400 ซี.ซี.สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยต้องผ่านมาตรฐานมลพิษ ยูโร4 คือปล่อย CO2 ไม่เกิน 120 G/Km. มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 20 Km./L หรือใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 5 L/100 Km. ต้องผ่านมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้ามาตรฐานR94และผ่านมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านข้างมาตรฐานR95 จากกระทรวงอุตสาหกรรม 

รถยนต์ที่เข้าร่วม “อีโค คาร์ เฟส1”

HONDA BRIO           เปิดตัว 17 มีนาคม 2011 ราคา  436,500-533,500

HONDA BRIO AMAZE เปิดตัว 23 พฤศจิกายน 2012 ราคา  454,000-521,000

MITSUBISHI ATTRAGE   เปิดตัว 4 กรกฎาคม 2013 ราคา  449,000-589,000

MITSUBISHI MIRAGE    เปิดตัว 20 มีนาคม 2012 ราคา  383,000-552,000

NISSAN ALMERA           เปิดตัว 7 ตุลาคม 2011 ราคา  433,000-625,000

NISSAN MARCH             เปิดตัว 12 มีนาคม 2010 ราคา  388,000-558,000

SUZUKI CELERIO           เปิดตัว 29 พฤภาคม 2014 ราคา   359,000-488,000

SUZUKI CIAZ                  เปิดตัว 8 กรกฎาคม 2015 ราคา 484,000-625,000

SUZUKI SWIFT               เปิดตัว 21 มีนาคม 2012  ราคา  442,000-599,000   

TOYOTA YARIS               เปิดตัว 22 ตุลาคม 2013 ราคา  469,000-629,000

อีโค คาร์

เริ่มต้น“อีโค คาร์ เฟส2”

สำหรับ“อีโค คาร์ เฟส2”เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อต่อยอดโครงการ“อีโค คาร์ เฟส1”เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 2015 พร้อมกับกฎกติกาที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิมดังนี้ ขนาดเครื่องยนต์ต้องไม่เกิน 1,300 ซี.ซี.สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และไม่เกิน 1,500 ซี.ซี.สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยต้องผ่านมาตรฐานมลพิษ ยูโร 5 คือปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 G/Km. มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 23.25 Km./L หรือใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 4.3 L/100 Km. และเพิ่มระบบความปลอดภัยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ Active Safety ระบบป้องกันล้อล็อค(ABS) ระบบควบคุมการทรงตัว(ESC)เป็นอุปกรณ์     มาตฐานในทุกรุ่นและยังต้องผ่าน มาตรฐานการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้ามาตรฐานR94 และ มาตรฐานการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านข้างมาตรฐานR95 จากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 6,500 ล้านบาทสำหรับผู้ลงทุนรายใหม่ (5,000 ล้านบาทสำหรับผู้ลงทุนรายเดิม) จำนวนการผลิตต้องไม่น้อยกว่า 100,000 คัน/ปี(เมื่อไลน์การผลิตขึ้นปีที่4)

อีโค คาร์

อีโคคาร์ ในร่าง บีคาร์ เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตรคันแรกในประเทศไทย

ย่อหน้าข้างต้นผมรื้อไฟล์ข้อมูลเก่าเล่าย้อนตำนานเรื่อง “อีโค คาร์” ให้คุณผู้อ่านได้ลำลึกกันก่อนเข้าเรื่องราวรีวิวทดลองขับ มาสด้า2 รุ่นปี 2020 กัน ซึ่ง หากคุณผู้อ่านสังเกตุอาจสงสัยได้ว่าทำไมผมถึงเลือกเล่าท้าวความเป็นมาของ“อีโค คาร์” ในพื้นที่ของ รีวิวทดลองขับ มาสด้2 รุ่นปี 2020 ที่ยกขบวนกันไปทดลองขับทดสอบสมรรถนะกันในสนามช้างฯ สนามแข่งรถระดับโลกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจะขอเฉลยก่อนเข้าเรื่องเลยก็ได้ว่า 

อีโค คาร์

มาสด้าเป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีรถยนต์พิกัด บี คาร์ ค่ายเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ“อีโค คาร์ เฟส1”เมื่อปี 2009 แต่กลับเป็นค่ายรถยนต์ค่ายแรกที่เข้าร่วมโครการ อีโค คาร์ เฟส 2 ส่งเข้าประกวดด้วยมาสด้า2รุ่นปี 2015 ในช่วงแรกที่มีข่าวออกมามาสด้าภูมิใจที่จะแนะนำมาสด้า2 ของพวกเขาต่อลูกค้าว่าเป็นรถคลาส บี คาร์ ที่เน้นสมรรถนะย้ำให้ชัดกับลูกค้าว่ารถยนต์อีโคคาร์ไม่ใช่รถยนต์ราคาถูกและด้อยสมรรถนะ (ด้วยราคาที่สูงกว่าผู้เล่นในตลาดเจ้าอื่นในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร) โดยมีตำแหน่ง“อีโค คาร์ เฟส 2”เป็นของแถมในเรื่องของการลดหย่อนภาษีสรรพสามิตแต่มาสด้าต้องแลกมาด้วยเงินลงทุน 6,500 ล้านบาทเพราะเป็นผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ 

อีโค คาร์

ลงแขกแลกหมัดตลาด อีโค คาร์ เฟส 2

เมื่อเม็ดเงินที่ลงทุนไปเป็นรูปเป็นร่าง บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย), มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และโรงงานผลิตรถยนต์ AAT ที่จังหวัดระยอง มาสด้าจึงร่อนจดหมายเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีเปิดไลน์การผลิตรถยนต์อีโคคาร์เฟส 2 ใหม่ในวันที่ 6 พ.ย.2014 ที่่ผ่านมา จริงๆการเปิดประตูโรงงานที่ลงทุนเพิ่มไป 6,500 ล้านบาทของมาสด้าในครั้งนี้มาสด้ามีเจตนาโฟกัสไปที่พิธีเปิดผ้าคลุม   มาสด้า2 ใหม่ รถยนต์อีโคคาร์เฟส 2 เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร สกายแอคทีฟ เทคโนโลยีคลีนดีเซล SKYACTIV-D มีอัตราความประหยัดนำ้มันเชื้อเพลิง 23.2 กม./ลิตร ปล่อยมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 100 กรัม/กม.ที่น่าสนใจคือมาพร้อมอ็อฟชั่นเต็มเทียบเท่ากับรุ่นพี่มาสด้า3 เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ มาสด้า2 เป็นอีโคคาร์ ในร่าง บีคาร์ ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตรคันแรกในประเทศไทย มีให้เลือก 5 รุ่นย่อย ดังนี้

อีโค คาร์

Mazda2 SkyActiv Sports XD 5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 675,000 บาท

Mazda2 SkyActiv Sports XD High 5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 735,000 บาท

Mazda2 SkyActiv Sports XD High Plus5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 790,000 บาท

Mazda2 SkyActiv Sedan XD 4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 675,000 บาท

Mazda2 SkyActiv Sedan XD High 4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 735,000 บาท

Mazda2 SkyActiv Sedan XD High Plus4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 790,000 บาท

ก่อนจะเปิดตัวมาสด้า 2 เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ตามมาในวันที่ 24 มีนาคม 2558  อีก 6 รุ่นย่อย

Mazda2 Sport Standard 5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 550,000 บาท 

Mazda2 Sport High 5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 610,000 บาท

Mazda2 Sport High Plus 5 ประตู แฮทช์แบค เกียร์อัตโนมัติ ราคา 665,000 บาท 

Mazda2 Sedan Standard 4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 550,000 บาท

Mazda2 Sedan High 4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 610,000 บาท

Mazda2 Sedan High Plus 4  ประตู ซีดาน เกียร์อัตโนมัติ ราคา 665,000 บาท

อีโค คาร์

หลังเปิดตัวพร้อมเปิดราคาอย่างเป็นทางการของ มาสด้า2 ใหม่(รุ่นปี 2015) ทั้ง2รุ่นเครื่องยนต์ ลงโชว์รูมพร้อมจำหน่าย มาสด้า 2 เทคโนโลยีคลีนดีเซล SKYACTIV-D และ มาสด้า 2 เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ถูกพูดถึงอย่างมากในฐานะผู้สร้างมาตรฐานด้านสมรรถนะให้รถยนต์พิกัด บี คาร์ขึ้นมาใหม่ ไม่มีใครอยากเชื่อว่ารถยนต์จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นจะนำเครื่องยนต์ดีเซลมาวางลงใต้ฝากระโปรงรถยนต์นั่งขนาดเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถยนต์ที่เรียกตัวเองว่า “อีโค คาร์” แน่นอนว่าราคาค่าตัวที่เปิดออกมา ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มราคารถยนต์“อีโค คาร์” ซึ่ง   มาสด้า2 ใหม่ เองแทบไม่ได้ลงไปแชร์ตลาด“อีโค คาร์” 

อีโค คาร์

แต่กลับไปเบียดกับเจ้าตลาด บีคาร์เดิมคือ โตโยต้า วีออส (เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร),โตโยต้า ยาริส(ที่อาศัยช่วงชุลมุนเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ 1.2 ลิตรเพื่อให้เข่าข่าย“อีโค คาร์”ตั้งแต่ปี 2013) ฮฮนด้า ซิตี้,ฮอนด้า แจ๊ส (เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร) ที่มียอดจำหน่ายช่วงปี 2014-2015 ค่ายละเกือบ 5 หมื่นคันใน ขณะที่มาสด้า 2(รุ่นแรกเครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร เปิดตัวไปเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 ก่อนจะ ไมเนอร์เชนจ์ ในปี2011 ที่ใช้ เป้ อารักษ์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ )มียอดจำหน่ายเกิน6พันคันมาไม่มาก แม้จะมียอดจำหน่ายไม่มากนักแต่มาสด้าก็พอใจในฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด บีคาร์

อีโค คาร์

กลุ่มรถยนต์รุ่นที่เปิดตัวใกล้เคียงกันในกลุ่ม “อีโค คาร์ เฟส2” และ“บี คาร์”

ราคา มาสด้า2  2015 เบนซิน เริ่มต้นที่ 555,000 – 655,000 บาท

ราคา มาสด้า2  2015 ดีเซล เริ่มต้นที่ 675,000 – 790,000 บาท

ราคา โตโยต้า วีออส 2015 เริ่มต้นที่ 599,000 – 734,000 บาท

ราคา โตโยต้า ยาริส 2015 เริ่มต้นที่ 469,000 – 599,000 บาท

ราคา ฮอนด้า ซิตี้ 2015 เริ่มต้นที่ 559,000 – 749,000 บาท

ราคา นิสสัน อัลเมร่า 2015 เริ่มต้นที่ 433,000 – 608,000 บาท

ราคา นิสสัน มาร์ช 2015 เริ่มต้นที่ 392,000 – 562,000 บาท

ราคา มิตซูบิชิ มิราจ 2015 เริ่มต้นที่ 383,000 – 567,000 บาท

ราคา มิตซูบิชิ แอททราจ 2015 เริ่มต้นที่ 456,000 – 594,000 บาท

ราคา ฮอนด้า บริโอ 2015 495,000 บาท

ราคา ฮอนด้า บริโอ 2015 เริ่มต้นที่ 517,000 – 577,000 บาท

อีโค คาร์

หลังจากนั้นไม่กี่ปี (หลังการเปิดตัว มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี2015) มาสด้าได้แสดงให้เห็นว่ารถยนต์มาสด้ายุคใหม่ สกายแอคทีฟเทคโนโลยี สามารถแจ้งเกิดได้ในตลาดบ้านเราหลังการปรับโครงสร้างในองค์กรครั้งใหญ่ได้นายใหม่เป็นคนไทย ชื่อชาญชัย ตระการอุดมสุข ซึ่งเป็นลูกหม้อก่อร่างสร้างโรงงานมาตั้งแต่เริ่มต้น มาบริหารจัดการนำมาสด้า2 เข้าโครงการ “อีโค คาร์ เฟส2”    หอบเงินลงทุนเพิ่มเติมลงไปตามกฎิกา อีกทั้งยังสร้างโรงงานผลิตเกียร์รถยนต์แห่งใหม่ในประเทศไทยใช้เงินลงทุนไปอีก7,300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2015 สามารถผลิตและประกอบเกียร์ได้ปีละ 4แสนชุด เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไป เวียดนาม เม็กซิโก และจีน 

อีโค คาร์

ความทุ่มเทของมาสด้านั้นเห็นผลเมื่อยอดจำหน่ายมาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2015 กระเตื่องขึ้นดีวันดีคืนสร้างยอดความนิยนยอมรับได้ในวงกว้าง ซึ่งหากมองด้วยราคาค่าตัว สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2015 ทั้ง2รุ่นเครื่องยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล กลายเป็นรถยนต์ บีคาร์ที่มีราคาสูงสุดในตลาด ในขณะที่รุ่นเครื่องยนต์เบนซินเอง ก็เขาไปอยู่ในตารางราคาของ บีคาร์คู่แข่ง ซึ่งแพงกว่า “อีโค คาร์”ในตลาดอยู่เกือบ1แสนบาทตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น สิ่งนี้น่าติดตาม!!!

อีโค คาร์

ให้เยอะกว่าคู่แข่งแซงด้วยความสนุก

คำถามที่เกิดขึ้นสำหรับหรับการมาของ มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2015 สำหรับสื่อมวลชนอย่างเราคือ มาสด้าจะทำอย่างไรให้การมาของ สกายแอคทีฟเทคโนโลยี ในมาสด้า2 รุ่นนี้เบียดสู้เจ้าตลาดบีคาร์ที่มีอยู่เดิมโดยที่ไม่ต้องไปแบ่งแย่งยอดมาจากตลาด“อีโค คาร์” สิ่งที่ทีมการตลาดของมาสด้าต้องทำคือสื่อสารให้ผู้ใช้รถยนต์กลุ่ม “อีโค คาร์” โดยเฉพาะกับกลุ่ม บีคาร์ ได้ทราบว่า       มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปีนี้นอกจากรูปทรงที่ตรงใจกลุ่มเป่าหมายภายใต้แนวคิด KODO Design 

อีโค คาร์

ลวดลายเหมือนนิ่งแต่เคลื่อนที่ ไฟหน้าฮาโลเจนดวงใหญ่ทรงเพรียวเปรียวเฉี่ยว เสริมด้วยเส้น Signature Line และคาร์บอนเคฟล่า รับกับกระจังหน้า 5 เหลี่ยม สไตล์ Signature Wing ด้านข้างตัวรถรับกับด้านหน้าด้วยเส้นสายเปรียวเฉี่ยวลงตัวกับด้านท้าย อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในแต่ละรุ่นที่มีมากกว่าคู่แข่งในขณะนั้น รวมถึงฟิลลิ่งการขับที่รู้สึกได้ถึงความสนุกเร้าใจจนผู้ใช้ลิ้มเรื่องความนุ่มนวลสะดวกสบายจากอาณ์บีคาร์รุ่นอื่นไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล

อุปกรณ์มาตรฐานในรุ่นเครื่องยนต์ 1.5 SkyActiv-D

Mazda 2 รุ่น 1.5 SkyActiv-D XD รุ่นซีดานและแฮทซ์แบ็ค 5 ประตู
– ระบบ i-Stop / i-Eloop

– ดิสก์เบรคหน้า ดรัมเบรคหลัง

– ล้ออัลลอยด์ 15″ พร้อมยาง 185/65R15

– กระจกมองข้างปรับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว

– สปอยเลอร์หลัง (ในรุ่น Sedan)

– มาตรวัดรอบเครื่องยนต์แบบดิจิตอล

– ปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์

– ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HLA

– ระบบเบรค ABS และกระจายแรงเบรค EBD

– ระบบควบคุมการทรงตัว DSC

– ระบบป้องกันการลื่นไถล TCS

– กุญแจนิรภัย Immobilizer

– เบาะผ้าสีดำ-น้ำเงิน (ในรุ่น Hatchback)

– เบาะผ้าสีดำ-แดง (ในรุ่น Sedan)

– จอแสดงข้อมูลการขับขี่

– วิทยุ CD/MP3 1 แผ่น

– สวิตช์ควบคุมเครื่องเสียงบนพวงมาลัย

– ช่องเชื่อมต่อ AUX/USB

– ลำโพง 4 ตัว

– ถุงลมนิรภัยคู่หน้า

Mazda 2 รุ่น 1.5  SkyActiv-D XD High รุ่นซีดานและแฮทซ์แบ็ค 5 ประตู
เพิ่มเติมจากรุ่น XD

  ดิสก์เบรค 4 ล้อ

  กระจกมองข้างพับไฟฟ้า

  • แผ่นปิดห้องสัมภาระท้าย (เฉพาะ Hatchback)
  • เบาะนั่งด้านหลังพับ 60:40
  • ระบบกุญแจรีโมทอัจฉริยะ

  สัญญาณกันขโมย

  เบาะผ้าสีดำ-น้ำเงิน ตกแต่งด้ายสีขาว (ในรุ่น Hatchback)

  เบาะผ้าสีดำ ตกแต่งด้ายสีแดง (ในรุ่น Sedan)

  ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ

Mazda 2 รุ่น 1.5  SkyActiv-D XD High Plus รุ่นซีดานและแฮทซ์แบ็ค 5 ประตู

เพิ่มเติมจากรุ่น XD High

– ล้ออัลลอย 16 นิ้ว พร้อมยาง 185/60R16

– ไฟตัดหมอกคู่หน้า

– พวงมาลัยหุ้มหนัง และหัวเกียร์หุ้มหนัง

– ไฟอ่านแผนที่แยกตำแหน่ง ซ้าย-ขวา

– หน้าจอ Center Display แบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว

– ปุ่มควบคุม Center Commander

– ระบบ Bluetooth และสั่งการด้วยเสียง

– ช่องใส่ SD Card

– ลำโพง 6 ตัว

– มาตรวัดรอบเครื่องยนต์แบบอนาล็อก

– หน้าจอ Active Driving Display

– เบาะหนังและผ้าสีดำ ตกแต่งด้ายสีแดง (ทั้งรุ่น Sedan และ Hatchback)

มาสด้า2 ปี 2020

จากสิ่งต่างที่ถูกบรรจุใส่ลงมาใน มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2015 เห็นได้ว่ามากมายกว่าคู่แข็งอีกทั้งกระแสความแรงแปลกใหม่จากเครื่องยนต์ดีเซลทำให้ มาสด้า2 กลายเป็นขวัญใจขาซิ่งคันใหม่(ทั้งที่ไม่ได้จัดกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต)จากอดีตจะเห็นว่าราชาขาซิ่งกลุ่มนี้ต้องยกให้ โตโยต้า ยาริส,โตโยต้า วีออส และ ฮอนด้า แจ๊ส,ฮฮนด้า ซิตี้ ด้วยเพราะช่วงก่อนหน้านี้รถยนต์2ค่ายนี้โด่งดังในวงการมอเตอร์สปอร์ตจากรายการวันเมคเรซที่ทั้งสองค่ายจัดแข่งขึ้นทั่วประเทศส่งผลถึงยอดจำหน่ายกระจายอย่างกว้างขวาง ก่อนที่ทั้งสองค่ายจะเริ่งวางมือกับกิจกรรมนี้ พร้อมๆกับการจากไปของ ยาริส 1.5 (ที่หมดลายกลายเป็น “อีโค คาร์”) ส่วน โตโยต้า วีออสแม้ว่ายังมีการจัดการแข่งขันอยู่บ้างแต่ก็ไม่ขลังไม่มีพลังเท่าเมื่อก่อนส่งผลให้บนถนนเมืองไทยเหลือฮอนด้า แจ๊ส รุ่นเดียวที่ยังมีกลิ่นอายตัวแข่งที่ยังครองใจขาซิ่งวิ่งอยู่บนถนน ส่วน ฮอนด้า ซิตี้ แม้ว่าจะมีวิ่งในสนามอยู่บ้างก็ไม่ฮอทเท่า แจ๊ส แต่นอกสนาม ฮอนด้า ซิตี้ กลายเป็นขวัญใจสุภาพสตรี ชนิดที่ว่าเห็น ฮอนด้า ซิตี้ บนถนน 10 คัน คันขับเป็นสุภาพสตรีถึง 8 คันเลยทีเดียวส่งผลให้  ฮอนด้า ซิตี้ กลายเป็นรถยนต์ บี คาร์ ที่ขายดีเป็นดับ1 (ก่อนจะเสียตำแหน่งนี้ให้มาสด้า2ในปี 2018-2019)

มาสด้า2 ปี 2020

และจังหวะนี้เองเป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีกับการมาของ มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2015 ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดจนความสดใหม่ของรูปทรงส่งผลให้ยอดขายกระจัดกระจายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สามารถมารถเข้าไปแชร์ลูกค้าเปลี่ยนค่ายย้ายเบอร์ จากเจ้าตลาดเบอร์1และเบอร์2 ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จากมาสด้า2รุ่นแรก (รุ่น เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร) มียอดขายเพียงกว่าครึ่งหมื่น พลิกมาสร้างยอดขายได้สูงถึง 44,000 คัน (ปี2015-2016) คำนวนง่ายๆว่ามาสด้า2(รุ่นปี2015)สามารถชวนลูกค้าย้ายค่ายมาได้เกือบ 4 หมื่นคัน(เที่ยบกับรุ่นปี 2009) ก่อนที่มาสด้า2จะสามารถแซง ฮอนด้า ซิตี้ ขึ้นเบอร์ 1 ยอดจำหน่าย บี คาร์ ในปี 2018 เมื่อมาสด้า เปิดตัว มาสด้า2 รุ่นปี 2017 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2017 ส่วน มาสด้า2  รุ่นปี 2017 มีดีอย่างไรถึงสามารถพามาสด้า2ครองแชมป์ยอดขายในปี 2018-2019 ได้สองปีติดต่อกันด้วยยอดขายปี 45,972 คัน ในปี 2018 และ 41,987 คันในปี 2019 ไปดูกัน

มาสด้า2 ปี 2020

มาสด้า2 รุ่นปี 2017 รุ่นได้ใจ

มาสด้า2 รุ่นปรับโฉม ปี 2017 ใช้เทคโนโลยีสกายแอคทีฟอัพเกรดใหม่ มีสเป็คแรงขึ้นแต่ประหยัดน้ำมันกว่าเดิม ทั้งจากเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร ให้อัตราการประหยัดน้ำมัน 23.3 กม./ลิตร และเครื่องยนต์คลีนดีเซล 1.5 ลิตร ให้อัตราการประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 23.2 กม./ลิตร เป็น 26.3 กิโลเมตรต่อลิตร ระบบเกียร์อัตโนมัติสกายแอคทีฟ 6 สปีด เทคโนโลยีความปลอดภัย i-ACTIVSENSE เชื่อมต่อกับโลกโซเชียลด้วย MZD CONNECT เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ระบบประหยัดพลังงานอัจฉริยะ           i-ELOOP ทำงานควบคู่กับระบบ i-Stop และล่าสุดระบบ G-VECTORING CONTROL หรือระบบควบคุมสมรรถนะการขับขี่อัจฉริยะ หนึ่งในชุดเทคโนโลยี SKYACTIV-VEHICLE DYNAMICS 

มาสด้า2 ปี 2020

มาตรฐานใหม่ตลาดรถบี-คาร์และรถอีโคคาร์

 •SKYACTIV TECHNOLOGY นวัตกรรมวิศวกรรมยานยนต์ที่พัฒนาเพื่อก้าว สู่ยนตรกรรมที่ประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแต่ยังคงไว้ซึ่งสมรรถนะแรงทรงพลัง

 •SKYACTIV-VEHICLE DYNAMICS เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ผสานและควบคุมการทำงานของรถทั้งคัน ให้ทำงานประสานกันทำให้ผู้ขับสัมผัสได้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับรถ ขณะที่ผู้โดยสารก็รู้สึกสบายตลอดการเดินทางตามแนวคิด จินบะ – อิไต (Jinba-Ittai) ของมาสด้า

 •SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล แรงบิดสูง ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรกับ            สิ่งแวดล้อม 1500cc พร้อมเทอร์โบแปรผันอินเตอร์คูลเลอร์ แรงบิด 250 นิวตัน-เมตร ผ่านมาตรฐานมลพิษ Euro 5 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำเพียง 100 กรัม/กม.โดดเด่นที่สุดเรื่องการประหยัดน้ำมันถึง 26.3 กม./ลิตร*
* ผลการทดสอบตามมาตรฐานยุโรป UN R101 Combine Mode

 •SKYACTIV-G 1.3 เครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน 1300cc แรงม้า 93 แรงม้า แรงบิด123 นิวตัน-เมตร ประหยัดน้ำมันถึง 23.3 กม./ลิตร* ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำเพียง 100 กรัม/กม.* ผ่านมาตรฐานข้อบังคับมลพิษระดับ Euro 5 ของยุโรป
* ผลการทดสอบตามมาตรฐานยุโรป UN R101 Combine Mode

 •SKYACTIV-DRIVE เกียร์อัตโนมัติสกายแอคทีฟ ควบคุมแบบอิเลคทรอนิกส์ ตอบสนองแม่นยำ เปลี่ยนเกียร์ราบรื่น ให้อัตราเร่งต่อเนื่อง

 •DRIVE SELECTION สวิตซ์ Drive Selection** เลือกขับในโหมด Sport ได้เมื่อต้องการเร่งแซง ให้อัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นในรอบเครื่องยนต์สูง สนุกเร้าใจเหมือนขับเกียร์ธรรมดา
** เฉพาะเครื่องยนต์เบนซิน

 •SKYACTIV-BODY โครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ โครงสร้างตัวถัง ผลิตจากเหล็กกล้าทนแรงดึงสูง (High Tensile Steel) น้ำหนักเบา แต่เหนียวและแข็งแกร่ง ลดแรงสะเทือนจากถนน และกระจายแรงปะทะที่เข้าสู่ห้องโดยสารในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 •SKYACTIV-CHASSIS ช่วงล่างและระบบบังคับเลี้ยวสกายแอคทีฟคล่องตัวกว่ารุ่นเดิม เกาะถนนมั่นคง พร้อมระบบบังคับเลี้ยวที่ช่วยให้เข้าโค้งแม่นยำ

 •ระบบประหยัดพลังงานอัจฉริยะ i-ELOOP (Mazda Regenerative Braking System) ไอ-อีลูป พัฒนาได้เทียบเท่าเทคโนโลยีรถยุโรประดับพรีเมียม ระบบจะเปลี่ยนพลังงานที่สูญเสียจากการลดความเร็วให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้เลี้ยงระบบไฟฟ้าของอุปกรณ์ภายในรถ ซึ่งทำให้พลังงานจากเครื่องยนต์ถูกใช้ในการขับเคลื่อนของรถได้อย่างเต็มที่ ช่วยประหยัดพลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10%***
*** เมื่อใช้ร่วมกับระบบประหยัดน้ำมัน i-STOP

 •ระบบ i-STOP (Idling Stop System) ระบบประหยัดน้ำมันที่สั่งให้เครื่องยนต์หยุดการทำงานชั่วคราวเมื่อรถจอดนิ่ง ขณะที่อุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถยังคงทำงานตามปกติ ด้วยพลังงานไฟฟ้าจาก i-ELOOP ทั้ง สองระบบทำงานคู่กัน เพื่อประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเครื่องยนต์จะทำงานอัตโนมัติทันทีเมื่อรถพร้อมออกตัว

 •ระบบ i-ACTIVSENSE: Worry-free Excitement เส้นทางไหนก็ไม่มีอะไรต้องกังวล อีกขั้นของความปลอดภัย ช่วยเตือนเมื่อมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ 

•ระบบ MZD CONNECT: CONNECTIVITY AT YOUR FINGERTIPS เทคโนโลยีเชื่อมต่อออนไลน์ MZD CONNECT ไม่ว่าจะเล่นโซเชียลมีเดีย รับ-ส่ง ข้อความ SMS จากสมาร์ทโฟนผ่านสัญญาณ Bluetooth พร้อม Infotainment ที่มีให้เลือกมากมายในแอพพลิเคชั่น AHA by HARMANTM รวมถึงระบบนำทาง Navigator เพื่อนเดินทางที่พาคุณสู่จุดมุ่งหมายอย่างปลอดภัยและประหยัดเวลา
**** สามารถติดตั้งเป็นอุปกรณ์เสริม

 •ระบบ ABSM (Advanced Blind Spot Monitoring) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน ช่วยส่งสัญญาณเตือน หากตรวจพบรถในเลนด้านข้างที่กําลังแซงขึ้นมา และอยู่ในจุดที่ผู้ขับอาจ มองไม่เห็น

 •ระบบ RCTA (Rear Cross Traffic Alert) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาในขณะถอยหลัง ซึ่งจะส่งสัญญาณเสียงเตือน พร้อมไฟกะพริบเตือนที่กระจกมองข้างในขณะขับรถถอยหลัง หากตรวจพบความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาด้านหลัง

 •THE NEXT LEVEL OF EXCITEMENT อีกขั้นของเทคโนโลยีสกายแอคทีฟ SKYACTIV – VECHICLE DYNAMICS เพื่อควบคุมสมรรถนะการขับขี่และเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ i-ACTIVSENSE ด้วยฟังก์ชั่นที่พร้อมตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์

 •360° European Touch ทุกมิติ พรีเมียมเทียบมาตรฐานยุโรป ตกแต่งแบบทูโทน พร้อมเบาะหนังดีไซน์ใหม่ อุปกรณ์ภายในจัดวางในตำแหน่งที่สะดวกใช้งาน พนักพิงเบาะนั่งด้านหลังแบบพับได้ ช่วยเพิ่มพื้นที่กว้างให้กับสัมภาระขนาดใหญ่ และยังแยกพับซ้าย-ขวา 60:40 ได้อิสระตามความต้องการ

 •Active Driving Display จอสกรีนใส แสดงข้อมูลการขับขี่ไม่ว่าจะเป็นระดับความเร็ว ข้อมูลระบบนำทาง Navigator ทำให้ผู้ขับไม่ต้องละสายตาจากถนนและมีสมาธิกับการขับขี่ได้อย่างเต็มที่

 •ระบบ Sports Paddle Shift ระบบการเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย

 •ระบบ Cruise Control ระบบควบคุมความเร็วคงที่

 •ระบบ Steering Wheel พวงมาลัยดีไซน์ใหม่ กระชับมือ ตกแต่งด้วยโครเมียม พร้อมปุ่มควบคุมการทำงานที่พวงมาลัย

มาสด้า2 ปี 2020

เจ้าตลาดเดิมเปิดศึกทวงแชมป์เครื่องยนต์ดาวนไซส์ใส่เทอร์โบ

เมื่ออ่านกันมาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายท่านคงเข้าใจและเห็นด้วยกับมาสด้าที่ประสบความสำเร็จสร้างยอดขายไต่ขึ้นเบอร์หนึ่งได้สำเร็จ เรื่องราวของมาสด้า2เดินทางอย่างราบรื่นทั้งยอดขายและความมั่นคงยั่งยืนขององค์กร ก่อนจะถึงการทำศึกครั้งใหม่ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 เมื่อ2 ค่ายใหญ่ฝั่งหนึ่งคือ นิสสัน เจ้าตลาด “อีโค คาร์ เฟส1” ฝั่งหนึ่งคือเจ้าตลาด “บี คาร์” เดิมคือ ฮอนด้า โดยนิสสันเปิดตัว นิสสัน อัลเมร่า ไปเมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2019 ถัดมาไม่ถึง2สัปดาห์ ฮอนด้า เริ่มขยับปรับเกมส์การตลาด เปลี่ยนเกมส์รุกปั้นหมากตัวใหม่เปิดตัว ฮอนด้าซิตี้ใหม่ เครื่องยนต์เบนซิน ดาวนไซส์ 3 สูบ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ซึ่งหมากเกมส์นี้ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ เจนฯ 5 มาเพื่อหวังกินรวบ บี คาร์-อีโค คาร์ แทนที่ มาสด้า2ให้จงได้ โดยทั้งสองค่ายเชิญผมและทีม incarsmagazine.com เข้าร่วมกิจกรรมทดลองขับทดสอบสมรรถนะในปลายเดือนมกราคมนี้ โดย ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ จัดการทดสอบที่จังหวัดเชียงรายในวันที่ 22-23 มกราคม ส่วน นิสสัน อัลเมร่า จัดที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 29-30 มกราคม เอาไว้เสร็จสิ้นภาระกิจทดลองขับ “อีโค คาร์ เฟส2” ในร่าง บี คาร์ ทั้งคู่แล้วจะมารีวิวรายงานให้รับทราบกัน  ส่วนตอนนี้ขอเข้าเรื่องรีวิวทดลองขับ มาสด้า2 ใหม่ รุ่นปี 2020 ที่ใช้เวทีงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2019 เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2019 

มาสด้า2 ปี 2020

มาสด้า2 ใหม่ ไม่หยุด…แค่ความธรรมดา

หลังการ มาสด้าเปิดตัว มาสด้า2 รุ่นปี 2020 ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2019 พร้อมเปิดขายได้ยอดจองกลับเข้าบริษัทถึง 2,209 คัน (หากนับถึงวันนี้น่าจะมากกว่า) เมื่อปลายปีที่ผ่านมานับว่าเป็นที่น่าพอใจเมื่อต้องสู้กับความสดใหม่จาก อีโค คาร์ในคราบ บี คาร์ ที่มีความสดใหม่ทั้งรูปทรงและขุมพลังทั้ง ฮอนด้า ซิตี้ และ นิสสัน อัลเมร่า มาสด้าถือคติ “ตีเหล็กก็ต้องตีตอนร้อน” จัดกิจกรรมทดลองขับทดสอบสมรรถนะก่อนคู่แข่งโดยยกขบวนผู้สื่อข่าวสานยานยนต์กว่า100ชีวิต (แบ่งเป็น3กลุ่ม) ไปทดลองขับทดสอบสมรรถนะมาสด้า2รุ่นปี่ 2020 กันที่สนามช้างฯ สนามแข่งรถระดับโลกเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 

มาสด้า2 ปี 2020

คอนเซ็ปท์ของกิจกรรมไม่มีอะไรน่าสงสัย ก็เขาจะไปทดสอบรถอะไรกันในสนามแข่งรถ ถ้าไม่ใช้ทดสอบเพื่อให้ได้สัมผัสการแสดงพลังแรงบิดเจ้าเครื่องยนต์ ดีเซล 1.5 ลิตร105 แรงม้า เพื่อวัดว่าแรงบิด 250นิวตัน-เมตร จะกระชากลากรอบพาร่าง น้ำหนัก 1,174 กิโลกรัม(ในบอดี้ซีดาน)และ 1,160 กิโลกรัม(ในรุ่นแฮทช์แบค) ผ่านเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะส่งลงล้อคู้หน้าไปได้ดีขนาดไหน และจะได้เทียบกับ รุ่นเครื่องยนต์ 1.3 ลิตร 93 แรงม้าแรงบิด 123 นิวตัน-เมตร ใช้เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ          ลูกเดียวกัน ก่อนรายงานการทดลองขับทดสอบสมรรถนะมาสด้า2ใหม่ ทั้ง2รุ่น เครื่องยนต์ขอแจง   รายละเอียดในความใหม่ของมาสด้า2รุ่นปี2020ว่ามีอะไรใหม่ 

มาสด้า2 ปี 2020

มาสด้า2รุ่นปี 2020 มีอะไรใหม่

เริ่มตั้งแต่ภายนอกสิ่งที่ทีมออกแบบลงมือกับส่วนนี้ทางมาสด้าเรียกมันว่าเป็น”วิวัฒนาการของ KODO Design ในนรุ่นแฮทช์แบค ด้านหน้าเริ่มตั้งแต่โคมไฟหน้าดวงใหม่ กระจังหน้าใหม่(ซิกเนเจอร์วิง) คิ้วโครเมี่ยมด้านล่างยาวจรดขอบไฟหน้าตลอดแนวกันชน กันชนหน้าใหม่ทั้งชิ้น ช่องดักลมเหนือ      ชายล่างของสเกิร์ตปรับเป็นแนวนอนยาวตลอดแนวกันชนพร้อมยกเลิกไฟตัดหมอกที่ครอบด้วยคิ้ว     โครเมี่ยมทรงโรตารีเดิมออกไป 

มาสด้า2 ปี 2020

ด้านท้ายก็เช่นกัน เปลี่ยนไฟท้ายใช้ดีไซน์ใหม่ให้รับกับด้านหน้า กันชนท้ายยังคงทรงเดิมแต่ปรับส่วนของชุดสีมีพื้นที่มากขึ้นพร้อมเสริมคิ้วโครเมี่ยมบริเวณมุมกันชน ในส่วนของบอดี้ซีดาน ด้านหน้าปรับเปลี่ยนแบบเดียวกันกับรุ่นแฮทช์แบค แต่ด้านหลังกันชนท้ายจะคนละทรงกัน แต่มีการปรับเปลี่ยนคล้ายกันคือ เพิ่มขอบคิ้วคล้ายช่องอากาศพร้อมทับทิมสะทอนแสงทีมุมกันชน สำหรับในรุ่นบนสุดของทั้ง2 รุ่นเครื่องยนต์จะใช้ล้ออัลลอยขนาด16 นิ้วลายใหม่ 

มาสด้า2 ปี 2020

ภายในห้องโดยสารไม่มีอะไรหวือหวามาใหม่ให้ได้ว้าว มีเพียงเปลี่ยนมาคุมโทนสีเทาฟ้าบริเวณแผงคอนโซนหน้าแผงประตูด้านข้างอีกทั้งอัพเกรดในเรื่องของความหรูหราจากวัสดุหนังผสมผ้า Alcantara รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยี เบาะดีไซน์ใหม่ที่พัฒนาบนพื้นฐานของ SKYACTIV-Vehicle Architecture รองรับซับพอร์ตบริเวณกระดูกเชิงกรานส่วนก้น กระดูกเชิงกรานส่วนบน บริเวณกึ่งกลางกระดูกซี่โครงและบริเวณต้นขาช่วยให้ท่าการนั่งขับขี่อย่างเป็นธรรมชาติ 

มาสด้า2 ปี 2020

รวมถึงระบบพระเอกที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพี่ มาสด้า3 ระบบ G-Vectoring Control Plus (GVC Plus)การทำงานของระบบจะช่วยปรับลดแรงบิดของเครื่องยนต์แปรผันตามการหักเลี้ยวพวงมาลัยของผู้ขับขี่ ควบคู่ไปกับการเบรกที่เหมาะสม เพื่อให้รถขับเคลื่อนไปอย่างนุ่มนวล มีเสถียรภาพ ช่วยให้ผู้ขับขี่แก้พวงมาลัยน้อยลง ควบคุมรถง่าย และแม่นยำยิ่งขึ้น สามารถเข้าโค้ง และออกจากโค้งได้อย่างนุ่มนวล ลดอาการเมื่อยล้าสะสมจากการขับรถทางไกลของผู้ขับขี่และการโคลงตัวไปมาของผู้โดยสาร แน่นอนว่าระบบนี้คู่แข่งในตลาดไม่มี (ระบบ GVC Plusถือเป็นโจทย์หลักที่ทีมงานมาสด้าต้องการใช้สนามช้างเป็นที่พิสูจน์เดียวจะเล่าให้ฟังในช่วงทดลองขับ)

มาสด้า2 ปี 2020

นอกเหนือจากหน้าใหม่ดีไซน์ดูดีขึ้นนั่งแล้วไม่เมารถจาก GVC Plus ช่วยยังมีเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ขนใส่ให้ไม่ว่าจะเป็น i-ACTIVSENSE ช่วยเพิ่มความอุ่นใจตลอดการเดินทาง ด้วยการส่งสัญญาณเตือนเมื่อพบความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุรอบคัน อาทิ ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะขณะเปลี่ยนเลน (Advanced Blind Spot Monitoring), ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลังหรือ RCTA (Rear Cross Traffic Alert),ระบบแสดงภาพ 360 องศา รอบทิศทาง พร้อมระบบเซ็นเซอร์กะระยะด้านหน้า 

มาสด้า2 ปี 2020

เครื่องยนต์ไม่มีอะไรใหม่

มาสด้า2 รุ่นปี 2020 ยังคงใช้ 2 เครื่องยนต์ คือ สกายแอคทีฟคลีนดีเซล (SKYACTIV-D) 1.5 ลิตร 105 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 250 นิวตัน-เมตร พ่วงเทอร์โบแปรผันผ่่านอินเตอร์คูลเลอร์ลดอุณหภูมิ ต้นจัดอัดต่อได้ทุกองศาคันเร่งแต่สวนทางกับอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 26.3 กม./ลิตร

มาสด้า2 ปี 2020

และเครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน (SKYACTIV-G) 1.3 ลิตร 93 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 123 นิวตัน-เมตร มีตัวเลขอัตราการสิ้นเปลืองที่ 23.3 กม./ลิตร แน่นอนว่าเครื่องยนต์ทั้ง2ลูกเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมผ่านมาตรฐานไอเสียยูโรระดับ 5 ซึ่งดูเหมือนจะมีข้อดีจนไม่ต้องไปเพิ่มเติมอะไรยังใช้เครื่องยนต์สเป็คเดิมสำหรับบอดี้รุ่นปี 2020 ไม่จริงหรอก!!! เครื่องยนต์ทั้ง2ลูกมีอุปนิสัยต่างกันมีข้อดีข้อเสียคนละอย่างข้อดีนั้นไม่มีปัญหา ส่วนขอเสียก็ไม่ใช่เสียซะไม่มีทางแก้ไขใช้ไม่ได้ ขอเพียงผู้ใช้เหรือผู้ขับจับอาการให้เป็นปรับตัวเปลี่ยนอุปนิสัยในการควบคุมพวงมาลัยใส่คันเร่งซะใหม่ให้เหมาะสมก็เท่านั้น(เดี๋ยวเล่าให้ฟังช่วงทดลองขับ)

มาสด้า2 ปี 2020

สนามช้างแล้วไง?

การทดลองขับทดสอบสมรรถนะ มาสด้า2 สกายแอคทีฟ-จี เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร และ สกายแอคทีฟคลีนดีเซล เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร รุ่นปี2020 ที่สนามช้างฯในครั้งนี้ ทีมผู้จัดได้เซ็ทรูปแบบการทดลองขับทดสอบสมรรถนะ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกแบ่งเป็น 2 สเตชั่น ให้ได้ทดลองระบบระบบ G-Vectoring Control Plus (GVC Plus) 

มาสด้า2 ปี 2020

ช่วงที่1 บริเวณโค้ง 2 มุ่งหน้าโค้ง3 ไพลอนที่ตั้งไว้ให้ขับผ่านในลักษณะเลนเชนจ์สลับซ้ายขวาด้วยความเร็วประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เจตนาการเซ็ตอัพสถานีเลนเชนจ์ในลักษณะนี้เพื่อให้ผู้ทดสอบได้สัมผัสการทำงานของระบบ GVC Plus เมื่อหักพวงมาลัยเปลี่ยนเลนกระทันหัน รอบแรก อินสตั๊กเตอร์ผู้ควบคุมสเตชั่นแนะนำให้ขับเข้าสเตชั่นด้วยความเร็วที่กำหนดเมื่อเข้า     สเตชั่นให้ยกคันเร่งแล้วหักพวงมาลัยเลนเชนจ์ เพื่อจับอาการโยนตัวของตัวรถที่ให้ยกคันเร่งเพราะระบบ GVC Plus จะไม่ทำงานหากไม่มีการกดคันเร่ง ซึ่งผมรับรู้ได้ถึงการโยนตัวของตัวรถ “โยกขวาท้ายเหวี่ยงไปซ้าย โยกซ้ายท้ายเหวี่ยงไปขวา” กว่าจะแก้ให้กลับมาเล่นเอาเหนื่อย  ในรอบที่สองให้ลองเดินคันเร่งเข้าสเตชั่นด้วยความเร็วคงที่ ในรอบนี้สังเกตุและจับอาการได้อย่างชัดเจนว่า

มาสด้า2 ปี 2020

“ระบบ GVC Plus ช่วยตรวจจับปรับลดแรงบิดของเครื่องยนต์แปรผันตามเซ็นเซอร์สั่งการจากการกดคันเร่งและองศาการควบคุมหักเลี้ยวพวงมาลัยของผู้ขับขี่ ควบคู่ไปกับการเบรกที่เหมาะสมเพื่อให้รถขับเคลื่อนไปอย่างมีเสถียรภาพ ช่วยให้ผู้ขับขี่แก้พวงมาลัยน้อยลง ควบคุมรถแม่นยำยิ่งขึ้น สามารถผ่านเลนเชนจ์ ได้โดยที่ตัวรถไม่เสียอาการ” 

มาสด้า2 ปี 2020

บทสรุปที่ได้จากสเตชั่นเลนเชนจ์ที่จำลองสถานการณ์เมื่อขณะขับรถแล้วมีเหตุการไม่คาดคิดเช่นคนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้าหรือมีของหล่นลงมาจากรถคันหน้า สัญชาติญานจะสั่งให้เราหักเลี้ยวเพื่อหลบหลีกอย่างกระทันหันซึ่งบนถนนจริงในบ้างครั้งความเร็วที่ใช้อาจจะมากกว่า 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ใช้ทดสอบ (GVC Plus จะปรับลดแรงบิดของเครื่องยนต์ลงแค่ไหน ควบคู่ไปกับการเบรกเยอะเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความเร็วและองศาการหักพวงมาลัย) ผมผ่านสเตชั่นนี้โดยใช้เวลาไม่มาก แต่ที่ใช้และได้กลับมามากคือประสบการณ์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย GVC Plus ผมไม่ได้อวย มาสด้า2 นะครับ แต่ผมชอบมากที่ มาสด้า2 มี ระบบGVC Plus

*และนี่คือคำตอบข้อที่1ว่าทำไมเราถึงมาทดสอบมาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2020กันที่สนามช้างฯ*

มาสด้า2 ปี 2020

ช่วงที่2 ยังโฟกัสกับการทดลองขับทดสอบระบบ GVC Plus แต่รูปแบบสเตชั่นจำลองสถานการณ์ต่างออกไป สเตชั่นนี้สตาร์ทออกตัวที่ปลายโค้ง7ก่อนจะเลี้ยวขวาเข้าโค้ง8 เลี้ยวขวาต่อเนื่องอีกทีที่โค้ง9 จากนั้นเดินคันเร่งต่อเนื่องไปเลี้ยวซ้ายที่โค้ง10สเตชั่นนี้จำลองสถานการณ์ให้เหมือนกับการขับขี่เดินทางบนสภาพเส้นทางที่อุดมไปด้วยโค้งซึ่งมีมากในบ้านเราอีกทั้งบางเส้นทางยังมีโค้งลับตาที่ไม่สามารถคาดเดาการใช้ความเร็วล่วงหน้าได้ทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะเข้าโค้งขึ้นบ่อย  

มาสด้า2 ปี 2020

รอบแรกในสเตชั่นนี้อินสตั๊กเตอร์ผู้ควบคุมสเตชั่นแนะนำให้ขับเข้าสเตชั่นด้วยความเร็วเดินทาง 90-100กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่านโค้ง 8-9-10 แบบความเร็วคงที่ (ไม่เติมคันเร่ง) เพื่อจับอาการโยนตัวของตัวรถในขณะที่ระบบ GVC Plus ไม่ทำงาน เช่นเคยผมรับรู้ได้ถึงอาการเกือบจะโอเวอร์สเตียร์ (ท้ายเกือบปัด) และอันเดอร์สเตียร์ (เลี้ยวไม่เข้าเมื่อใช้ความเร็วเกินลิมิต)

มาสด้า2 ปี 2020

รอบที่สองอินสตั๊กเตอร์ไม่ได้แนะนำให้ขับอย่างไรแต่บอกว่าสเตชั่นนี้คุณขับตามสะดวก(คงเห็นว่าเราพอมีสกิลอยู่บ้าง)ได้สิจัดให้!!! สเตชั่นนี้ผมไม่สนใจความแรงของเครื่องยนต์ทั้ง2แต่ผมเจตนาจะลองของเจ้าระบบ G-Vectoring Control Plus (Plus แปลว่าพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่2แล้ว) ผมได้ลอง   G-Vectoring Control Plus ผ่านโค้ง 8-9-10 สองรอบ ทั้งสองรอบผมเดินคันเร่งมิดติดพื้นช่วงก่อนเข้าโค้งก่อนจะเบรกแล้วเดินคันเร่งเข้าโค้งตามเรซซิ่งไลน์(ที่ไม่ค่อยแม่น)แบบเหยียบมิด เชื่อมั๊ยครับองศาคันเร่งที่ผมเติมไปจนมิด ไม่ได้ตอบสนองส่งคำสั่งสร้างแรงบิดไปที่เครื่องยนต์ตามแรงเท้าผมเลย แต่กลับดื้อรั้นส่งกำลงลงล้อแค่พอพาผมออกจากโค้ง 8-9-10 ในสนามช้างได้อย่างปลอดภัย (เออเอากับมันสิ?)

มาสด้า2 ปี 2020

ผมผ่านช่วงที่2 ของสเตชั่นนี้ด้วยบทสรุปว่าเมื่อผู้ใช้รถใช้ถนนสาถารนะที่เป็นทางโค้ง  คดเคี้ยวอุบัตุเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่ออุบัตุเหตุเกิดจากความประมาณ และความรู้เท่าไม่ถึงการ รวมถึงประสบการณ์หรือสกิลในการขับรถที่มีไม่มากพอ G-Vectoring Control Plus ใน มาสด้า 2 จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้รถที่ผมกล่าวถึงปลอดภัยทั้งกับตัวผู้ขับเองและผู้ร่วมทางท่านอื่น

มาสด้า2 ปี 2020

*และนี่คือคำตอบข้อที่2 ว่าทำไม่เราถึงมาทดสอบมาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2020 กันที่สนามช้างฯ*

มาสด้า2 ปี 2020

เต็มรอบสนามช้างฯ

การทดลองขับทดสอบสมรรถนะ มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2020 ในช่วงที่ 2 ตอนบ่าย เป็นการเราจะได้ขับทดสอบมาสด้า2ทั้ง2รุ่นเครื่องยนต์ในสนามช้างฯแบบเต็มรอบสนาม (ภายใต้การนำของอินสตั๊กเตอร์) 6 รอบที่ได้ทดลองขับ สรุปให้ฟังก่อนขยายความให้ฟังว่า มาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2020 เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก หรือ บี คาร์ พ่วง อี โค คาร์ อีกตำแหน่ง ที่มีดีครบทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่รูปทรงภายใต้ หนำซ้ำยังเซ็ทช่วงล่างได้หนึบหนับ พวกมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้าคมใช้ได้น้ำหนักกำลังดี (ถ้าคุณชอบขับรถสไตล์นี้) แถมรีเทิร์นวนกลับตำแหน่งเดิมไวทันใจไร้รอยต่อ เบรกเซ็ทนำหนักการกระจายแรงเบรกมาได้ดีเบรกทีไม่หัวปักหัวปำ 

มาสด้า2 ปี 2020

สมรรถนะช่วงล่างมาสด้า2 เหมาะมากกับการขับในสนามแข่ง รองรับสมรระนะเครื่องยนต์      แมตกันดีมากโดยเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลโทอร์โบ กดคันเร่งมิดจากทางตรงผ่านแกร์ดสแตนด์ก่อนยกคันเร่งเข้าโค้ง1เลขไมล์ขึ้น 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นได้ว่าอัตราเร่งช่วงต้น เครื่องยนต์ดีเซลโทอร์โบ จัดจ้านพอตัว แต่จะมีอาการรอรอบของเทอร์โบอยู่บ้างในช่วงรอยต่อรอบเครื่องยนต์ช่วงเติมคันเร่งเข้าโค้ง1 เอาใหม่ ลองอีกครั้ง ที่โค้ง3โค้งแฮร์พิน (โค้งยูเทิร์น) เป็นอีกครับรับรู้ได้ แต่ไม่ถึงกับน่าเกลียดนะ แต่เมื่อเลยรอบเครื่องยนต์ยนต์ 2,000 รอบ/นาทีไปแล้ว สมูทต่อเนื่องดีช่วงล่างหลังผ่านโค้ง4ซึ่งเป็นโค้งความเร็วสูง(โค้งนี้รถแข่งเขาเข้าก็นที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกันเลยทีเดียว)ต่อเนื่องโค้ง5 บอกได้เลยว่า ไปดีกว่า บี คาร์ และ อี โค คาร์ ทุกค่าย ยกเว้น ฮฮนด้า ซิตี้ และ        นิสสัน อัลเมร่า ซึ่งยังไม่ได้ทดลองขับ

มาสด้า2 ปี 2020

ต่อเนื่องจากโค้ง 5 ไป 6-7-8-9-10-11 เมื่อเริ่มคุ้นชินกับตัวรถดีแล้วอีกทั้งยังสามารถเติมคันเร่งได้อีกเนื่องจากเป็นการทดลองขับในสนามแข่งรถที่มีพื้นที่ให้หมุนให้หลุดได้ จึงทำให้ผมเริ่ม เบรคช้าลง สนุกกับการเติมคันเร่งเพื่ออยากออกจากโค้งให้เร็วขึ้น แต่เชื่อมั๊ยว่ามาสด้า เครื่องยนต์ 1.5 เทอร์โบคันนี้ไม่ยอมให้ผมออกจากโค้งแบบหวาดเสียวไม่ปล่อยแม้เสี่ยววินาที่ให้ผมหลุดโค้งออกไปหมุน ก็ เจ้า GVC Plus ไงออกมาทักทายผมตลอดการทดลองขับ

ทำให้ผมนึกถึงรถยนต์หรูหราราคาแพง อย่าง MINI Cooper ที่ผมมีโอการได้ทดลองขับทดสอบมรรถนะในสนามช้างแห่งนี้มาแล้ว อารมณ์เดียวกันเลยครับ รู้กันดีนะครับ MINI Cooper S พ่วงรหัส JCW นั้นแรงแค่ไหน หากมีพวก ระบบ แทรคชั่น คอนโทรล  Traction Control System (TCS) ระบบ Electronic Stability Programs (EBD) (การทำงานคล้ายกับ GVC Plus) ถ้ามีระบบพวกนี้แล้วละก็สุดท้ายเมื่ออยู่ในสนามแข่งแรงแค่ไหนก็โดนตอนครับ

มาสด้า2 ปี 2020

ถามว่าระบบพวกนี้มันดีมั๊ย ตอบได้ว่าดีสิครับดีในเรื่องของความปลอดภัยเมื่อใช้รถบนท้องถนน แต่กับรถแข่งในสนามเขาไม่ใส่ระบบพวกนี้ลงไปหรอกครับเพราะรถแข่งต้องเข้าออกโค้งเร็วถ้ามีระะบบพวกนี้ไม่มีทางได้ขึ้นโพเดี่ยม ไม่ใช่ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย รถแข่งเตรียมป้องกันมาอย่างดี และอีกอย่างไม่ใช่ใครก็เป็นนักแข่งได้นะครับ กลับมาที่ MINI Cooper S พ่วงรหัส JCW ที่เคยลองขับในสนามนี้ อารมณ์ใกล้เคียงกับ มาสด้า2 เครื่องยนต์ 1.5 ดีเซลเทอร์โบคันนี้มากเมื่ออยู่ในโค้ง หาก ผมให้ MINI 9 เต็ม10 มาสด้า2 ผมให้ 7เต็ม10 ไม่ได้อวยนะครับ คุ้มแล้วครับ คันนึงราคา ไ่ถึงล้านแต่อีกคันเกือบ3ล้าน

มาสด้า2 ปี 2020

*และนี่คือคำตอบข้อที่3ว่าทำไม่เราถึงมาทดสอบมาสด้า2 สกายแอคทีฟเทคโนโลยี รุ่นปี 2020กันที่สนามช้างฯ*

มาสด้า2 ปี 2020

ส่วนอีกคัน มาสด้า2 สกายแอคทีฟ-จี เครื่องยนต์ 1.3 ลิตร ที่มีทุกอย่างเหมือนกับรุ่น 1.5 ดีเซลเทอร์โบ ยกเว้นเครื่องยนต์ อารมณ์ช่วงล่างเมื่อขับในสนามไม่ต่างกัน มี GVC Plus เหมือนกัน แต่ที่ต่างอย่างชัดเจนคืออุปนิสัยของเครื่องยนต์เบนซินที่ต่างจากเครื่องยนต์ดีเซลคือความเรียบลื้นต่อเนื่อง ความเร็วปลายไม่ต่างกันแค่ขึ้นช้ากว่านิดหน่อย ส่วนข้อถามที่ว่า ซีดาน4ประตู กับ แฮท์ชแบค 5 ประตู เลือกคันไหนดี อันนี้แล้วแต่ชอบเลย ได้อย่างเสียอย่างครับ 

มาสด้า2 ปี 2020

ท้ายสุดสุดท้ายที่ย่อหน้านี้ ขอพูดถึงมาสด้า2 ทั้ง2รุ่น เครื่องยนต์ 2 รูปแบบตัวถัง ว่าเป็นรถยนต์ขนาด บี คาร์ ที่มีคุณสมบัติ อี โค คาร์ ครบถ้วน เป็นรถยนต์ที่ขับสนุก มาตรฐานงานสร้างใกล้เคียงรถยนต์ทางฝั่งยุโรป แต่ราคารถยนต์ญี่ปุ่น ที่คนไทยสามารถเป็นเจ้าของได้ ไม่ได้มายกยอปอปั้นกันนะครับ ยอดขายของมาสด้า2เองเป็นสิ่งยืนยันได้ว่ารถมันดีถึงขายดีเป็นเบอร์1มาสองปีติดต่อกัน ไม่อย่างนั้น ฮอนด้า ซิตี้ ที่เป็นเจ้าตลาดเดิมจะส่ง ซิตี้ ลงบันลังค์ บี คาร์ มาควบเพื่อรวบตลาด อีโค คาร์ อีกตลาดเพื่อทวงคืนตำแหน่งจ่าฝูงกลับคืนให้จงได้ ไว้ได้ไปทดลองขับแล้วจะมาเหลาให้ฟังครับ!!!

Review New Mazda2 MY 2020 GALLERY