ทดลองขับ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี

รีวิวทดลองขับรถใหม่

โดย. เตมีย์ ลิ้มตระกูล

ทดลองขับ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ซีเรียสเรื่องราคา ความคุ้มค่าก็ซีเรียส

การมาของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย แต่ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ไม่ใช้รถยนต์เทคโนโลยีใหม่อะไรเพราะรถยนต์ มิตซูบิชิ รุ่นนี้เปิดตัวแนะนำพร้อมจำหน่ายเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นและกว่า 50 ประเทศทั่วโลกตั้งแต่ปี 2556 (นับเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำมากในขณะนั้น) ส่งผลให้เป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่ขายดีที่สุดในยุโรป (ยกเว้นในประเทศที่มีแบรนด์รถยนต์ของตนเอง) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ปี (ปี 2558 – 2561) มียอดขายสะสมทั่วโลกกว่า 200,000 คัน

ในประเทศไทย ถ้าไม่นับ เอสยูวีปลั๊ก-อินไฮบริด ขับเคลื่อนสี่ล้อจากค่ายฝรั่งฝั่งยุโรปมีเพียง     มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี เพียงคันเดียวที่มีความเพียบพร้อมทั้งเทคโนโลยีปลั๊ก-อินไฮบริดเวอร์ชั่นสูง (ขอไม่นำไปเทียบกับ MG HS PHEV ที่เปิดตัวไปก่อหน้าตั้งราคา 1.359 ล้านบาท)  และสมรรถนะขับเคลื่อน4ล้อใกล้เคียงรถฝรั่งแต่มีราคาที่ต่ำกว่า2ล้านซึ่งบรรดาเอสยูวีฝรั่งถ้าฝังระบบขับเคลื่อน4ล้อเข้าไปราคาค่าตัวจะเริ่มต้นกันที่2ล้านปลาย (Volvo XC60 2,990,000 บาท BMW X3 xDrive30e 3,659,000 บาท,เมอร์เซเดส-เบนซ์ GLC 300 e 4MATIC 3,749,000 บาท) 

จะว่าไปแล้ว มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี บอดี้นี้หน้าตาแบบนี้ราคาไม่ถูกนะ มิตซูบิชิ ประเทศไทยเคยมีแผนจะนำเข้ามาขายในบ้านเราเมื่อหลายปีก่อนแต่โครงการนั้นเป็นอันต้องยกเลิกไปเพราะหากจะ CBU จากญี่ปุ่นเข้ามาขายต้องเปิดราคาที่โชว์รูมเริ่มต้นที่ 4 ล้านบาท แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนหลายอย่างจึงเปลี่ยนไป บริษัทแม่ โรงงาน มิตซูบิชิ ที่ญี่ปุ่น ยอมให้ โรงงานมิตซูบิชิประเทศไทยที่แหลมฉบังเปิดไลน์ประกอบ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ นอกแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นที่แรก 

ซึ่งการเปิดไลน์ประกอบ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ นอกประทศครั้งนี้มาพร้อมกับกฎกติกาและมาตรฐานการประกอบเมดอินเจแปนมากมายซึ่งกว่าจะเซ็ตอัพไลน์ผลิตลงตัวจึงใช้เวลาเนินนานกว่าจะเปิดไลน์ได้ก็เกือบจะปลายอายุ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ โมเดลนี้เข้าไปแล้ว ซึ่งจะว่าสายไปก็ไม่เชิงเพราะ  มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ โมเดลที่ประกอบจะเป็น มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี 

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี รุ่นประกอบในประเทศคันนี้เรียกได้ว่าเป็นรุ่นไมเนอร์เชนจ์ ทั้งหน้าตา(นิดหน่อย)และขุมพลังเครื่องยนต์ โดยขยับเครื่องยนต์จากเดิมเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร มาเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2.4 ลิตร โดยทีมวิศวกรผู้สร้างคำนวนมาเป็นอย่างดีแล้วว่าขนาดความจุเครื่องยนต์ขนาดนี้เหมาะที่สุดสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับ ระบบขับเคลื่อนที่มีมอเตอร์ 2 ตัวขับ     เคลื่ิอนล้อคู่หน้าและคู่หลัง โดยมีชุดควบคุม MCU และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ทำหน้าที่คำนวณการ กระจายกำลังของมอเตอร์หน้าและหลังตามความต้องการจากการสัมผัสพื้นถนน 

รวมถึงการจัดการระบบการชะลอตัว(การหน่วง)หรือระบบเบรกรีเจนเนอร์เรทีฟของล้อแต่ละล้อ(ได้5ระดับสามารถควบคุมได้ที่แพดเดิ้ลชิฟ)เพื่อประสิทธิภาพการทรงตัวและสมรรถนะสูงสุด รวมถึงบางจังหวะบางสถาณการณ์ ที่ผู้ขับต้องการเร่งแซงหรือต้องการพละกำลังเพื่อเคลื่อนที่ในทางสูงชั้นเครื่องยนต์เบนซิน 2.4 ลิตรจะส่งกำลังมาเสริมเติมให้ที่เพลาขับลู้คู่หน้าในทันที ที่มีสัญญาณส่งมาจากองศาการกดคันเร่ง 

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวที่ติดตั้งบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบส่งกำลัง(ไม่มีเกียร์บ๊อก)การใช้พลังงานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพจึงส่งผลถึงการการขับขี่ที่ นุ่มนวล มอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง2ตัวดังกล่าวเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า AC Synchronous Premanent Magnetic ตัวหน้าให้กำลังสูงสุด 82 แรงม้า 137 นิวตันเมตร ส่วนด้านหลังให้กำลังสูงสุด 91  แรงม้า 195 นิวตันเมตร และเมื่อทำงานร่วมกับ เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 2.4 ลิตรกำลังสูงสุด 128 แรงม้า ที่ 4,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 199 นิวตันเมตร ที่ 4,500 รอบ/นาที ทำงานร่วมกับมอเตอร์ มีกำลังรวม 305 แรงม้า

เมื่อเชื่อมต่อระบบทั้งในส่วนของเครื่องยนต์ที่เป็นต้นกำลังผูกพ่วงกับเจเนอเรเตอร์(เครื่องกำเนิดไฟฟ้า)เราอาจเรียกคู่(เครื่องยนต์+เจเนอเรเตอร์)นี้ว่าเครื่องปั่นไฟเพื่อถ่ายทอดกำลังไฟที่ผลิตได้ส่งไฟชาร์จไปชาร์จแบตเตอรี่ Lithiu-ion 300 Volts ขนาดความจุ 13.8 kWh (ตำแหน่งติดตั้งใต้พื้นกลางตัวรถ) โดยแบตเตอรี่ชุดนี้จะจ่ายไฟฟ้าไปให้มอเตอร์ตัวหลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนล้อคู่หลัง เมื่อสตาร์ทรถระบบจะจัดการขับเคลื่อนตัวรถเริ่มต้นที่ระบบพื้นฐานหรือที่เรียกกันว่าขับคลื่อนแบบไฮบริด    ซีรีย์ คือการตัดต่อประสานการทำงานจากแหล่งพลังงานจากระบบคือเครื่องยนต์ติดขึ้นปั่นไฟไปในบางจังหวะ โดยใช้มอเตอร์ทั้ง2ตัวเป็นตัวขับเคลื่อนเป็นหลัก แต่เมื่อใดผู้ขับต้องการพละกำลังการเร่งแซงกะทันหัน เครื่องยนต์+เจเนอเรเตอร์ จะส่งกำลังเสริม ไปยังมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อคู่หน้า เพื่อช่วยมอเตอร์ตัวหลังที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนล้อคู่หลัง อีกแรง พร้อมกับ ทำหน้าที่ชาร์จไฟไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้ในโหมด EV ที่สามารถวิ่งด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียวๆได้ระยะทาง 55 กิโลเมตร

หากยังไม่เข้าใจเรื่องระบบของขุมพลังการขับเคลื่อนขอเสริมระบบ พีเอชอีวี ให้เป็นแบบลายรักอักษรตามนี้ โดยมีการแบ่งการทำงานเป็น 3 รูปแบบคือ

  1. EV Drive Mode คือการทำการขับเคลื่อนตัวรถด้วยระบบไฟฟ้าที่ได้มาจากแบตเตอรี่อย่างเดียวสามารถวิ่งได้ระยะทางสูงสุด 55 กิโลเมตร

  2. Series Hybrid Mode คือการทำงานร่วมกันของแหล่งกำลังทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบโดยควบคุมโดยกล่องควบคุมซึ่งมีการรายงานจากเซ็นเซอร์หลายจุด ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ทั้ง2ตัวหน้า-หลังที่จ่ายไฟจากแบตเตอรี่เป็นหลัก เครื่องยนต์จะติดเพื่อชาร์จไฟก็ต่อเมื่อแบตเตอรี่อ่อน

  3. Parallel Hybrid Mode โหมดนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อผู้ขับต้องการกำลังขับเคลื่อมากเป็นพิเศษประเภทเร่งแซงกะทันหัน ต้องการเคลื่อนที่เร็วกว่า 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง โหมดนี้จะรับคำสั่งจากการกดคันเร่ง ก่อนจะตอบสนองด้วยการสั่งให้เครื่องยนต์ติดขึ้นไฟพลักดันให้เจเนอเรเตอร์ที่อยู่ใกล้กับส่งไฟฟ้าไปขับมอเตอร์ด้านหน้าเพื่อขับเคลื่อนล้อคู่หน้า

รีวิวทดลองขับ

สำหรับการรีวิวทดลองขับ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ในครั้งนี้เป็นทดลองขับทดสอบกันแบบวันเดย์ทริป คันละคน คนละคัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโนบายป้องการการระบาดของเชื้อไวรัส        โควิด-19 ของทางภาครัฐ โดยเป็นวันเดย์ทริปที่หนักหน่วงแม้จะเป็นการขับอยู่ใน กทม.และปริมณฑล เลขไมล์ก็ขึ้นไปกว่า200กิโลเมตรก่อนล้อจะหมุนออกจากลานกว้างข้างทะเลสาบเมืองทองธานี (8:00น.) มีการสร้างจุดกางเต็นท์ จำลองให้ดูเหมือนพวกเรากำลังแคมปิ้งกัน เรื่องของเรื่องคือจะให้ลองใช้ไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กเอ๊าท์พุตกำลังไฟออกมาเปิดเตาชาบู ป้ิงย่างไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 1,500 วัตต์ ซึ่งเคลมว่าสามารถใช้ได้ราว 6 ชั่วโมง แต่เราใช้เวลาทำกิจกรรมนี้ซึ่งก็คืออาหารของพวกเราเพียง 1ชั่วโมงเศษอิ่มมื้อเช้ากันแบบแปลกใหม่ 

ได้เวลาล้อหมุน ช่วงแรก ราว 50 กิโลเมตร เริ่มการทดลองขับทดสอบด้วย โหมดอีวี ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าสั่งงานอย่างเป็นทางการด้วยการกดปุ่ม EV Switch ข้างคันเกียร์ขึ้นไฟเรื่องแสงสีฟ้า พร้อมไฟสัญญาลักษณ์ EV โชว์ที่กลางหน้าปัด แผงมาตรวัดสถานะการทำงานวงด้านซ้ายจะแสดงการทำงานของระบบ พีเอชอีวี ทั้งหมด ส่วนวงด้านขวาจะแสดงความเร็วของรถ ในโหมด EV นี้ตามสเปคเคลมไว้ที่ 55 กิโลเมตร เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่ามันวิ่งได้จริงหรือไม่ ผลการพิสูจน์ มันวิ่งได้จริง แต่ต้องมีเทคนิคนิดหน่อย คือขับยังไงก็ได้ในโหมด EV กด-ยก คันเร่งตามจังหวะการจราจรบ้านเราและสามารถทำความความเร็วสูงสุดได้ถึง 135 กม,/ชม(ใน แล้วยิ่งเป็นการขับแบบเท้ากดคันเร่งเนียนๆน่าจะสามารถวิ่งได้ไกลกว่าที่เคลมไว้ 

บททดสอบต่อไปมาว่ากันด้วยโหมดการขับขี่ ทั้ง โหมดซีรีย์ ไฮบริด และโหมดพาราเรล ไฮบริด ต้องบอกก่อนว่าทั้ง EV โหมดซีรีย์ ไฮบริด และโหมดพาราเรล ไฮบริด จะทำงานตัดต่อกำลังสลับกันไปมาทั้ง 3 โหมดโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าผู้ขับจะกดปุ่มเลือกโหมด EV ตั้งแต่ออกตัว แต่เมื่อใดที่คนขับกดคันเร่งองศามากกว่าปกติกะทันหัน ระบบจะปรับมาเข้าสู่โหมดซีรีย์ ไฮบริดในทันที โหมดซีรีย์ ไฮบริด ขับเคลื่อนหลักด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ไฟฟ้าคู่ และ โหมดพาราเรล ไฮบริด เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถไปพร้อมกัน โดยการขับขี่ทั้ง 3 รูปแบบ จะถูกสลับปรับเปลี่ยนโหมดแบบอัตโนมัติ พร้อมระบบเบรกรีเจนเนอร์เรทีฟ ที่สามารถจ่ายพลังงานคืนเพื่อการชาร์จกระแสไฟฟ้าให้แก่แบตเตอรี่ รวมทั้ง ชาร์จโหมด ที่สามารถชาร์จกระแสไฟฟ้ากลับไปยังแบตเตอรี่ได้จนเกือบเต็มในขณะขับขี่

นอกเหนือจากจุดเด่นในความที่เป็น พีเอชอีวี แล้ว ยังติดตั้งระบบความปลอดภัยที่ที่ใช้เทคโนโลยีระบบความปลอดภัยล่าสุดไม่ว่าจะเป็นระบบเตือนการชนด้านหน้าตรงพร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว (FCM) ระบบสัญญาณเตือนจุดอับสายตา (BSW) พร้อมระบบสัญญาณเตือนขณะเปลี่ยนเลน (LCA)  และระบบล็อกความเร็วแบบแปรผันอัตโนมัติ (ACC) ที่ไม่ได้ทำหน้าที่แต่เฉพาะรักษาระดับความเร็วให้คงที่เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ตรวจจับรถคันหน้า พร้อมควบคุมความเร็วและรักษาระยะห่างเพื่อความปลอดภัยจนกว่ารถจะหยุด 

บทพิสูจน์สุดท้ายในทริปนี้เป็นการทดลองขับทดสอบระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น เรียกว่ามีไว้ไม่ได้ใช้ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มี เอาจริงๆระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) คือจุดเด่นจุดขายไม่แพ้ความเป็นรถยนต์พลังงานไฮบริด ที่มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ราคาค่าตัว 1,640,000 บาท -1,749,000 บาท ถือว่าคุ้มมาก โดย ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) นั้นมีโหมดการขับเคลื่อน(4ล้อ) 4 โหมดให้เลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพเส้นทางคือ

1.NORMAL โหมดนี้จะปรับสภาพแปรผันกระจายแรงบิดเพื่อขับเคลื่อนแลพเบรกตามสภาพพื้นถนนทั่วไปทั้งแห้งและเปียก

2. SNOW ใช้สำหรับการขับขี่บนพื้นผิวถนนลื่น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาภการทรงตัว

3.LOCK ใช้สำหรับการขับขี่ที่ต้องการแรงฉุดลากสูงเหมาะสำหรับการขับขี่บนพื้นผิวถนนขรุขระ หรือขับบนทราย

4.SPORT โหมดนี้ตอบสนองการขับขี่แบบสปอร์ต สามารถเร่งและลดความเร็วได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับเส้นทางที่ต้องการกำลังสูง

สรุป

หลังจากที่อยู่ด้วยกันมาทั้งวันระยะทางรวมกว่า 200 กิโลเมตร พอจะสรุปได้ว่า มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี มีS-AWC เป็นจุดเด่นในเรื่องของสมรรถนะ และมีระบบไฮบริดเป็นจุดขายในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดของผู้เป็นเจ้าของ อีกทั้งยังสามารถเป็นรถคันเดียวที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันทั้งขับไปทำงานเช้าเย็นกลับ หากพิกัดที่ทำงานกับบ้านห่างกันไม่เกิน 50 กิโลเมตร สามารถใช้โหมด EV ขับไปกลับได้สบายๆ(หรือหากเกิดเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องกังวลเพราะมีเครื่องยนต์คอยเป็นผู้ช่วย) ถึงบ้านค่อยเสียบปลั๊กชาร์จเพื่อใช้งานในวันรุ่งขึ้น 

รวมถึงตัวรถที่เป็นเอสยูวี ที่มีความเอนกประสงค์ ของอรรถประโยชน์ขอองพื้นที่ใช้สอยมากอยู่แล้ว สามารถใช้เป็นรถคันเดียว 5 ที่นั่งพาครอบครัวเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดได้อย่างอุ่นใจในสมรรถนะของ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) ทั้งยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงจากระบบไฮบริดที่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ โดยเมื่อรวมระยะทางที่วิ่งได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าได้ 55 กิโลเมตร บวกกับน้ำมันเบนซินเต็มถัง 45 ลิตร ว่ากันว่าสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 700 กิโลเมตรเลยทีเดียว 

สุดท้ายช่วยเขาขายของหน่อย(ซื้อไม่ซื้ออยู่ที่คุณ) มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี มีสีให้เลือกทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีขาว White Diamond, สีเงิน Sterling Silver และสีดำ Jet Black Mica โดยรุ่นเริ่มต้น จีที ราคา1,640,000 บาท และรุ่น จีที พรีเมียม ราคา1,749,000 บาท โดยทั้ง 2 รุ่น มีแพ็กเกจ วอรี่ ฟรี (worry-free) ประกอบด้วย ฟรี รับประกันแบตเตอรี่ 10 ปี หรือ 160,000 กิโลเมตร ฟรี มิตซูบิชิ เซอร์วิส แพ็กเกจ 5 ปี, ฟรี ช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชม. นาน 5 ปี, ฟรี ประกันภัยชั้นหนึ่ง 1 ปี, ฟรี รับประกันคุณภาพพร้อมค่าแรงเช็คระยะ 5 ปี และ พิเศษ สำหรับลูกค้าที่จองรถภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 และรับรถภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 รับค่าสนับสนุนการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้าที่บ้านรวมมูลค่าสูงสุด 20,000 บาท 

ลองขับ Mitsubishi Outlander PHEV GALLERY