หากไม่ใช่ FC เหนียวแน่นแบรนด์รถยนต์ฮอนด้าคงลืมไปแล้วว่าเมื่อครั้งแรกที่เปิดตัวจำหน่ายในบ้านเรารถยนต์นั่งพิกัดขนาดเล็กชื่อรุ่นว่า ฮอนด้าซิตี้ นั้น ผ่่านมือผู้ใช้รถคนไทยมา 7 รุ่น(นับรวมรุ่นล่าสุด2024)แรกเริ่มเดิมทีแพลนแรก ฮอนด้า ซิตี้ คือการออกมาเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กทรง แฮทช์แบ็ก เจตนานอกจากจะคันเล็กใช้งานในเมืองคล่องตัวแล้วยังเพิ่มความลงตัวในการจัดวางขนถ่ายย้ายข้าวของเข้าออกได้สะดวก (จากประตูบานหลัง) ด้วยเหตุนี้ฮอนด้า ซิตี้ Generation1 คันแรกของโลกจึงเป็นรถยนต์ทรงแฮทช์แบ็ก 3 ประตู ถือกำเนิดเมื่อปี 2524
และช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ ฮอนด้า ซิตี้ มีรุ่นเปิดประทุน (Cabriolet) ออกมาระยะหนึ่ง ก่อนจะมีการเปลี่ยนแผนการตลาดครั้งใหญ่ในปี 2539 เปลี่ยนโพซิชั่นนิ่งใหม่ให้ ฮอนด้า ซิตี้ จากรถเล็กมีประตู 3 บานแบบ แฮทช์แบ็ก เป็นรถยนต์ทรงซีดาน 4 ประตู เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีฐานลูกค้ากว้างกว่า พร้อมๆกับปักหมุดเป้าหมายใหม่จากยุโรปมาสู่เอเชีย ประเทศไทยคือหนึ่งในประเทศแพลนนิ่งของฮอนด้า ซิตี้ ซีดาน
ฮอนด้า ซิตี้ เปิดตัวพร้อมจำหน่ายอย่างเป็นทางการในบ้านเราเมื่อปี 2539 เป็น ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่3(ของโลก)แต่เป็นรุ่นที่1(ที่ขายในประเทศไทย) ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นนี้มีการปรับโฉมเล็กน้อยแบบ ไมเนอร์เชนจ์ พร้อมกับเติมชื่อรุ่นว่า ฮอนด้า ซิตี้ TYPE Z(ไทป์ ซี) ใช้เครื่องยนต์ i-DSI เป็นเครื่องยนต์ที่ระบบ i-DSI เป็นการพัฒนากลไกรับหน้าที่ต่อจากการฉีดจ่ายไอดีเข้าห้องเผาไหม้เพื่อทำการจุดระเบิด การทำงานของ i-DSI
ขณะที่รอบต่ำหรือรอบปานกลาง หัวเทียนทั้ง 2 หัว จะจุดระเบิดแบบเรียง ลำดับโดยเริ่มจากหัวเทียนด้านไอดี จุดระเบิดก่อนและหัวเทียนด้านไอเสียจะจุดระเบิดซ้ำอีกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ทำให้มีอัตรา เร่งดี ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและมีมลพิษที่ต่ำ และในขณะที่รอบสูง ส่วนผสมไอดีจะไหลเข้ากระบอกสูบมากขึ้น หัวเทียนทั้ง 2 หัวจะจุดระเบิดพร้อมกัน ส่งผลให้เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้น
ถัดจากนั้นอีก 4 ปี (2545) ในประเทศไทยมีการเปิดตัว ออลนิว ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 4 ในชืื่อ ฮอนด้า ซิตี้ TYPE ZX(ซีเอ็กซ์) การพัฒนาการทางเทคโนโลยีของฮอนด้า ซิตี้ ตั้งแต่รุ่นที่ 3 ถูกอัพเกรดขึ้นเรื่อยๆแต่ยังเป็นเครื่องยนต์ เบนซิน 1.5 ลิตร มีการปรังปรุงระบบฉีดจ่าย ไอดี(น้ำมัน+อากาศ)เข้าห้องเผาไหม้ให้การเปิดปิดวาล์วผ่านกลไกลูกเบี้ยวแปรผัน ส่งผลให้เครื่องยนต์จุดระเบิดเผาไหม้ได้เต็มประสิทธิภาพในทุกความต้องการของผู้ขับจากทุกๆรอบเครื่องยนต์ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ i-VTEC พร้อมกับเกียร์อัตโนมิติรุ่นใหม่ชื่อว่า CVT
ในปี 2551 ฮอนด้า มีการปรับโฉม ฮอนด้า ซิตี้ ครั้งใหญ่มากกว่าที่จะใช้คำว่า ออลนิว ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 5 นี้ต้องใช้คำว่าปรับดีไซน์การออกแบบแพลตฟอร์มใหม่หมดทั้งโครงสร้าง ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 5 นี้ถือเป็นรุ่นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดของ ฮอนด้าและขายดีที่สุดของรถยนต์เซกเมนต์นี้ในขณะนั้น โดย ณ รุ่นนี้เริ่มมีการแบ่งรุ่นย่อยเป็น รุ่น S รุ่น V และรุ่น SV ก่อนจะมีการปรับโฉมปรับเปลี่ยนกระจังหน้าใหม่แบบไมเนอร์เชนจ์ในปี 2557 นับเป็น ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 6 ซึ่งช่วงคาบเกี่ยวกันของทั้ง 2 รุ่น(5-6) มีการเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นเชื้อเพลิง CNG พร้อมทั้งยังมีรุ่นตกแต่งพิเศษด้วยชุดแต่ง Modulo ให้เลือก
ในช่วงจังหวะเวลาปลายรุ่นของ ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 5 ต่อเนื่องสู่รุ่น 6 นับเป็นช่วงอิ่มตัวของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(Product Life Cycle)นับจากช่วงเติบโต(Growth)เมื่อต้นรุ่น 5 สู่ช่วงถดถอย(Decline)ในปลายรุ่นที่ 6 สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากจังหวะคู่แข่งแนะนำผลิตภัณฑ์ซึ่งมีทั้งความสดใหม่รวมถึงฟีเจอร์ด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยสมัยใหม่เข้าตลาด อย่างมาสด้า 2 ซึ่งช่วงจังหวะเวลานี้เป็นช่วงที่ยอดขาย ฮอนด้า ซิตี้ ย่ำแย่ที่สุด สถารณ์การเช่นนี้ ฮอนด้าต้องทนรับกว่า 3 ปี จนกระทั้ง ปี 2562 ฮอนด้าเปิดตัว ซิตี้ ใหม่ นับเป็นโปรดักส์ไลน์อัพที่ผ่านแผนงานการกลั่นกรอง เบรนสรอม (Brainstorm)มาจนมั่นใจว่า ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ที่พวกเค้าจะเปิดตัวจะสามารถพาฮอนด้า ซิตี้ กลับมาครองส่วนแบ่งสูงสุดในตลาดรถยนต์เซกเมนต์นี้อีกครั้ง ซึ่งแผนงานโปรเจกต์นี้เป็นครั้งแรกที่ ฮอนด้า นำเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศหรือเทอร์โบ ชาร์จเจอร์มาใช้กับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
เปิดตัวฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 7 วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 คือวันที่ ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ ซีดาน 4 ประตู ใหม่ รุ่นที่ 7ต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการ ก่อนจะพร้อมจำหน่ายในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 36 ตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2562 พร้อมๆกันที่โชว์รูมฮอนด้าทั่วประเทศ ทั้งเปิดรับจองทุกโชว์รูมฮอนด้าทั่วประเทศ โดยมีให้เลือกทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่
-รุ่น S ราคา 579,500 บาท
-รุ่น V ราคา 609,000 บาท
-รุ่น SV ราคา 665,000 บาท
-รุ่น RS ราคา 739,000 บาท
จุดเด่นของ ฮอนด้า ซิตี้ ซีดาน รุ่นที่ 7 นอกจากความสดใหม่ในบอดี้ แล้ว จุดขายหลักอยู่ที่เครื่องยนต์ อย่างที่บอกว่า เป็นครั้งแรกที่ ฮอนด้า นำเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศหรือเทอร์โบชาร์จเจอร์มาใช้กับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ในรายละเอียดเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร 122 แรงม้า แรงบิด 173 นิวตัน-เมตร จาก 4 รุ่น ย่อยใหม่ของ ฮอนด้า ซิตี้ ซีดาน รุ่นที่ 7 ซึ่งก็เป็นไปตามแผนของฮอนด้า ได้รับกระแสตอบรับที่ดีเยี่ยมด้วยยอดจำหน่ายและยอดจองรวมกว่า 35,000 คันภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปีหลังเปิดตัว เมื่อแผน 1 ได้ผลฮอนด้าไม่ปล่อยช่วงเวลาให้คู่แข่งแทรกแซงเริ่มแผน 2 ในทันที
24 พฤศจิกายน 2563 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด สร้างปรากฏการณ์ใหม่เติมเต็มความสมบูรณ์แบบของยนตรกรรมซิตี้คาร์ ภายใต้ “เดอะ ซิตี้ ซีรีส์” (The City Series) เปิดตัว 2 รุ่นใหม่ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ครั้งแรกในโลกกับการเผยโฉมฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก 5 ประตู ที่ประเทศไทย ดีไซน์สปอร์ตทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงยกระดับความสปอร์ตในใจให้ลูกค้าฮอนด้าอีกขั้นในรุ่น RS ราคา 749,000 บาท รุ่น SV ราคา 675,000 บาท รุ่น S+ ราคา 599,000 บาท มีให้เลือกทั้งหมด 6 สี ได้แก่ สีแดงอิกไนต์ (เมทัลลิก) เฉพาะรุ่น RS สีใหม่ สีเทาเมทิเออรอยด์ (เมทัลลิก) พร้อมด้วย สีขาวแพลทินัม (มุก) เฉพาะรุ่น RS และ SV สีดำคริสตัล (มุก) สีเทาโซนิค (มุก) และสีขาวทาฟเฟต้า เฉพาะรุ่น S+
และ ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี ซีดาน (e:HEV)ยนตรกรรม Full Hybrid รุ่นแรกของเซกเมนต์ซิตี้คาร์ในประเทศไทย ที่มาพร้อมเทคโนโลยีการขับเคลื่อน Sport Hybrid i-MMD ที่ผสานการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว กับเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร Atkinson Cycle DOHC i-VTEC 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องไฟฟ้า (E-CVT) และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน เป็นระบบ Full Hybrid ที่ตอบสนองได้ทันใจด้วยแรงบิดสูงสุด 253 นิวตัน-เมตร ที่ 0 – 3,000 รอบต่อนาที ก่อนจะเติมไลน์ไฮบริด เปิดตัว ซิตี้ แฮทช์แบ็ก อี:เอชอีวี ในปี2564
นับเป็นแผนภาคต่อจากเมื่อปลายปี 2563 ฮอนด้า ได้เปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ใหม่ และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า มันคือการผสานการขับขี่ที่สนุกสนานและความอเนกประสงค์อันเป็นเอกลักษณ์ของรถสไตล์แฮทช์แบ็กมาในครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีด้านการขับเคลื่อนระบบฟูลไฮบริด และเทคโนโลยีความปลอดภัยฮอนด้า เซนส์ซิ่ง พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ ซึ่งมีการปรับปรุงโปรโมชั่นเติมแพคเกจความคุ้มค่าให้ลูกค้าตลอดมาไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสีขาวมุกเฉพาะรุ่น RS และ SV ราคาเพิ่มขึ้น 1 หมื่นบาท ในเดือน กรกฎาคม 2566 ซึ่งยังคง มีให้เลือก 2 พลังขับเคลื่อน รวม 5 รุ่นย่อย ดังนี้
ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี 2 รุ่นย่อย
รุ่น e:HEV RS ราคา 839,000 บาท
รุ่น e:HEV SV ราคา 769,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ 3 รุ่นย่อย
รุ่น RS ราคา 749,000 บาท
รุ่น SV ราคา 679,000 บาท
รุ่น V ราคา 629,000 บาท
ล่าสุด 7 กุมภาพันธ์ 2567 ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก มีการปรับโฉม ใหม่อีกครั้งในรูปแบบ ไมเนอร์เชนจ์ หรืออาจใช้เรียกรุ่นปี 2024 ก็ไม่ผิดอะไร มีให้เลือก 2 ขุมพลัง 5 รุ่นย่อย แบ่งเป็นรุ่นเทอร์โบ 3 รุ่นย่อย และรุ่น e:HEV อีก 2 รุ่นย่อย โดยเพิ่มรุ่น e:HEV SV ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้สึกสดใหม่การคำว่าไมเนอร์เชนจ์แล้ว ประเด็นเด่นที่ต้องพูดถึงคือการปรับลดราคาขายรุ่นท๊อป e:HEV RS ลงเหลือจากเดิม 839,000 บาท 799,000 บาท
ไมเนอร์เชนจ์ มีให้เลือก 2 ขุมพลังขับเคลื่อน รวม 5 รุ่นย่อย แบ่งเป็น
รุ่นขุมพลังฟูลไฮบริด e:HEV มีให้เลือกทั้งหมด 2 รุ่นย่อย
รุ่น e:HEV RS ราคา 799,000 บาท
รุ่น e:HEV SV ราคา 729,000 บาท
รุ่นขุมพลัง VTEC TURBO มีให้เลือกทั้งหมด 3 รุ่นย่อย
รุ่น RS ราคา 749,000 บาท
รุ่น SV ราคา 679,000 บาท
รุ่น S+ ราคา 599,000 บาท
นอกจากราคารุ่นใหม่ที่ไม่เพิ่มขึ้นแล้วแถมยังลดลงในบางรุ่น ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ มีอะไรใหม่ ตามนี้เลย
-กันชนหน้า-หลัง ใหม่ กระจังหน้าใหม่(RS ดำเงา SV โครเมียม)
-ล้ออัลลอยดีไซน์ใหม่และยาง 15 นิ้ว และ 16 นิ้ว ใหม่
-เบาะนั่งหุ้มด้วยหนังสีดำขลิบด้วยแถบสีแดง
-ระบบเตือนเมื่อรถคันหน้าเคลื่อนที่ Lead Car Departure (LCDN)
-พร้อมฟังก์ชั่นตามรถคันหน้าที่ความเร็วต่ำ Low-Speed Follow (LSF)
-ปัดน้ำฝนแบบอัตโนมัติ Rain Sensor
-ไฟเตือนเบาะนั่งด้านหลัง Rear Seat Reminder
-ช่องเก็บของ และ ช่องเก็บขนาดเล็ก ด้านหลังเบาะนั่งคู่หน้า
-เชื่อมต่อ USB Type C 2 ช่องของผู้โดยสารตอนหลัง
-มีหลังคา Black Roof ในรุ่นสีน้ำเงิน Brilliant Sporty Blue(เฉพาะรุ่น e:HEV SV และ e:HEV RS)
-เพิ่ม รุ่นย่อย e:HEV SV
ส่วนในแต่ละรุ่นย่อยนอกจากฮอนด้าจะ ไมเนอร์เชนจ์ ข้างต้นแล้วยังเพิ่มHonda SENSING 6 ฟังก์ชัน ในทุกรุ่นย่อย
-ระบบเตือนการชนพร้อมระบบช่วยเบรก (CMBS)
-ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (LKAS)
-ระบบเตือนและช่วยควบคุมเมื่อรถออกนอกช่องทางเดินรถ (RDM w. LDW)
-ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ (AHB)
-ระบบเตือนเมื่อรถคันหน้าเคลื่อนที่ (LCDN)
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (ACC) (เฉพาะรุ่น S+, SV และ RS)
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันพร้อมระบบปรับความเร็วตามรถยนต์คันหน้าที่ความเร็วต่ำ (ACC w. LSF) (เฉพาะรุ่น e:HEV SV และ e:HEV RS)
ทั้งนี้ในรายละเอียดของแต่ละรุ่นจะมีฟีเจอร์ประจำและแตกต่างกันของแต่ละรุ่นตามนี้
อุปกรณ์มาตรฐานรุ่น S+(36 ฟีเจอร์)ราคา 599,000 บาท
ไฟหน้าโปรเจกเตอร์ฮาโลเจน ไฟส่องสว่างเวลากลางวัน LED
ระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ กระจังหน้าตกแต่งแบบโครเมียม
กระจกมองข้างปรับไฟฟ้า เสาอากาศแบบครีบฉลาม ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว เบาะนั่งหุ้มวัสดุผ้า
เบาะนั่งผู้ขับขี่ปรับสูง-ต่ำได้ ราวมือจับ 3 ตำแหน่ง ระบบปรับอากาศแบบธรรมดา Honda Smart Key System One Push Ignition System Remote Engine Start ระบบ Idle Stop พร้อมปุ่มเปิด-ปิด พวงมาลัยปรับได้ 4 ทิศทาง จอแสดงข้อมูลการขับขี่ TFT 4.2 นิ้ว ปุ่ม ECON แผงบังแดดพร้อมกระจกแต่งหน้าเฉพาะฝั่งผู้ขับ เบาะนั่งด้านหลังอัลตราซีทแยกพับ 60:40 เครื่องเสียงวิทยุ 2DIN Bluetooth พวงมาลัยมัลติฟังก์ชันพร้อมปุ่มรับ-วางสายโทรศัพท์ ช่อง USB 1 ตำแหน่ง ลำโพง 4 ตำแหน่ง Honda SENSING Walk Away Auto Lock ถุงลมนิรภัยคู่หน้า / ด้านข้าง ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HSA ระบบเบรก ABS / EBD ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยคู่หน้า สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติขณะเบรก ESS ระบบล็อกประตูอัตโนมัติ ไฟเตือนเบาะนั่งด้านหลัง จุดยึดเบาะนั่งเด็ก ISOFIX
อุปกรณ์มาตรฐานรุ่น SV (เพิ่มจากรุ่น S+) ราคา 679,000 บาท
กระจกมองข้างปรับ-พับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว สีทูโทน
เบาะหนังแท้สลับหนังสังเคราะห์ มือเปิดประตูด้านในโครเมียม
ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ พนักเท้าแขนด้านหน้า
เครื่องเสียง Advanced Touch ขนาด 8 นิ้ว Wireless Apple CarPlay
Wireless Android Auto ช่อง USB 1 ตำแหน่ง
กล้องมองภาพด้านหลังปรับมุมมอง 3 ระดับ
อุปกรณ์มาตรฐานรุ่น RS (เพิ่มจากรุ่น SV) ราคา 749,000 บาท
ไฟหน้า LED กระจังหน้า RS สีดำเงา
ชุดแต่งรอบคัน RS ไฟตัดหมอกคู่หน้า LED
ฝาครอบกระจกมองข้างสีดำเงา เสาอากาศแบบครีบฉลามสีดำเงา ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว สีดำแบบสปอร์ต เบาะนั่งตกแต่งด้วยแถบสีแดง
Paddle Shift ที่พวงมาลัย จอแสดงข้อมูลการขับขี่ TFT 4.2 นิ้ว แบบ RS
ช่องจ่ายไฟด้านหลัง 2 ตำแหน่ง แผงบังแดดพร้อมกระจกแต่งหน้าคู่หน้า
พนักเท้าแขนหลังพร้อมที่วางแก้ว ราวมือจับ 4 ตำแหน่ง
Honda CONNECT ลำโพง 8 ตำแหน่ง
ม่านถุงลมนิรภัย
อุปกรณ์มาตรฐานรุ่น e:HEV SV (เพิ่มจากรุ่น 1.0 SV) ราคา 729,000 บาท
เครื่องยนต์ไฮบริด e:HEV 1.5L ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ACC with LSF
ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว สีทูโทน ช่องปรับอากาศตอนหลัง
เบรกมือไฟฟ้า EPB ระบบ Auto Brake Hold
ระบบช่วยชะลอความเร็วที่พวงมาลัย จอแสดงข้อมูลการขับขี่ TFT 7 นิ้ว
ช่อง USB-C ด้านหลัง 2 ตำแหน่ง
อุปกรณ์มาตรฐานรุ่น e:HEV RS (เพิ่มจากรุ่น 1.0 RS) ราคา 799,000 บาท
เครื่องยนต์ไฮบริด e:HEV 1.5L ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ACC with LSF
ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ ช่องปรับอากาศตอนหลัง
เบรกมือไฟฟ้า EPB ระบบ Auto Brake Hold
ระบบช่วยชะลอความเร็วที่พวงมาลัย จอแสดงข้อมูลการขับขี่ TFT 7 นิ้ว แบบ RS
ช่อง USB-C ด้านหลัง 2 ตำแหน่ง Honda LaneWatch
ส่วนสีตัวถังมีให้เลือกดังนี้
-น้ำเงิน Brilliant Sporty Blue Metallic (ทูโทนหลังคาดำ)
-แดง Ignite Red Metallic
-ขาว Platinum White Pearl
-ดำ Crystal Black Pearl
-เทา Meteoroid Gray Metallic
-เทา Sonic Gray Pearl
-ขาว Taffeta White
ในส่วนของขุมกำลังอย่างที่บอกว่ามี 2 แบบ
เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ VTEC TURBO ขนาด 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO กำลังสูงสุด 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT และมีอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 23.3 กม./ลิตร รองรับน้ำมัน E20 ได้
เครื่องยนต์ Full-hybrid e:HEV เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร Atkinson Cycle ทำงานร่วมกันระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ให้แรงบิดสูงสุดของมอเตอร์ไฟฟ้า 253 นิวตัน-เมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ E-CVT อัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 27.8 กม./ลิตร รองรับน้ำมัน E20 ได้
ลองขับแล้ว1.0 เทอร์โบยังดีดเหมือนเดิม ส่วน Full-hybrid e:HEV เติมของมาให้คุ้ม
การได้ทดลองขับ หรือจะเรียกว่าทดสอบ ก็แล้วแต่จะถนัดเรียก ส่วนเรานั้นไม่ใช้นักขับรถทดสอบแต่จะขอเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ใช้ (คือใช้รถรุ่นนี้อยู่) ดังนั้นการได้นั่งหลังพวงมาลัยในฐานะผู้ขับ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ คันนี้มันก็เหมือนกับว่าเราอยากรู้แหละว่า “ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ ใหม่อะไรมั๊ย?” อย่างที่พาดหัวไว้ข้างต้น เอาจริงเราไม่ว้าวอะไรมากมายกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น)
แต่สิ่งที่ทำให้เราสะดุดหยุดคิดคือ มีการเพิ่มอุปกรณ์มาตรฐานเน้นความคุ้มค่าตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Honda SENSING 6 ฟังก์ชัน ในทุกรุ่นย่อย อันนี้แอบงอลเพราะรถเราไม่มี (รถเราซิตี้ แฮทช์แบ็ก เทอร์โบ SV) สำหรับการทดลองขับในทริปนี้ กรุงเทพฯ- ศรีราชา ระยะทางไปกลับ กว่า 300 กิโลเมตร ได้ทดลองขับทั้ง รุ่น 1.0 เทอร์โบ และ Full-hybrid e:HEV
เอาจริงๆตั้งแต่ออกจากรุงเทพฯ เราเป็นผู้โดยสารบน ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ e:HEV RS ตั้งแต่ล้อหมุนก็พยายามพิจารณาฟีเจอร์รอบคันที่ติดตั้งเพิ่มเข้ามา จนเกือบเที่ยงถึงร้านอาหาร บอกเลยว่า “ไล่ใช้ไม่หมด” นับดีๆ จากที่กล่าว (ข้างต้นอีกแล้ว) ตัวท๊อปคันนี้มีฟีเจอร์ให้ใช้กว่าครึ่งร้อยฟังก์ชันเลยทีเดียว ส่วนอารมณ์หลังจากได้แอบดอดไปขับเข้าร้านอาหาร เรารับรู้ได้ถึงความนิ่มนวลที่มีมากกว่ารถเรา (ซิตี้ แฮทช์แบ็ก เทอร์โบ SV ที่คุ้นเคย) ความนิ่มที่เรารับรู้ได้นี้มันส่งผลการทรงตัวที่เราสามารถรับรู้ได้บนความเร็วเดินทางตั้งแต่ 120 กิโลเมตร/ ขึ้นไป
เปรียบยังไงดีนะ?คือแบบ โหวงๆอ่ะ และด้วยความสงสัย จึงพยายามความคำตอบ ซึ่งก็ได้คำตอบที่น่าจะถูกต้อง (สอบถามแลกเปลี่ยนจากผู้ร่วมทดลองขับท่านอื่น) คือในรุ่น เครื่องยนต์ไฮบริด e:HEV 1.5L นั้น จะมีน้ำหนักตัวรถ (รุ่น RS 1,237กิโลกรัม) มากกว่า รุ่นเครื่องยนต์ 1.0 เทอร์โบ(รุ่น RS 1,187 กิโลกรัม) เกือบ100 กิโลกรับ (เป็นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากแบตเตอรี่) ร่วมถึง ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ e:HEV RS คันเรามีผู้ขับและผู้โดยสาร 4 คน น้ำหนักก็ปาเข้าไปกว่า 200 กิโลกรัมปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของอาการที่เราว่ามาตั้งแต่ต้น
ในเรื่องของการตอบสนองของเครื่องยนต์ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ e:HEV RS ให้อัตราเร่งแบบสุภาพผู้ดีไม่ดึงหงาย แต่ไม่ใช่ว่าไม่แรงนะ สไตล์รถยนต์ไฮบริดทั่วไปแหละ การตอบสนองของคันเร่งทันใจในยามต้องการ ไม่มีการรอรอบให้เห็น แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้มาจาก ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก ไมเนอร์เชนจ์ e:HEV RS คันนี้คือความประหยัดและความฉลาดขอบระบบจัดการเชื้อเพลิง อันนี้เราชอบ
ส่วน ซิตี้ แฮทช์แบ็ก เทอร์โบ RS ที่เราคุ้นเคยยังคงสนุกแบบดุดันเหมือนเคย ได้ยินเสียงวี๊ด (เทอร์โบ) เมื่อไหร่มันส์ได้อารมณ์จิ๊กโก๋กระตุกกระตักดี ก็หลังติดเบาะกันไป มาถึงเรื่องช่วงล่าง การยึดเกาะถนน เราชอบและมั่นใจกับ ซิตี้ แฮทช์แบ็ก เทอร์โบ RS มากว่า ไม่ได้มั่วนะ เราไปหาคำตอบมาให้แล้ว(ข้างต้น) นี่คือข้อดี (ที่เราชอบ) คันนี้ จะเป็นรอง e:HEV RS ก็ตรงอัตราการบริโภคน้ำมันเชื่อเพลิงนั้นแหละ ที่ทำให้ต้องคิดหนัก หากต้องเลือก อ่านสเปคนี้ซ้ำอีกครั้ง เพื่อย้ำให้แน่ใจว่า คันไหนตรงใจคุณระหว่าง
รุ่น 1.0 ลิตร VTEC TURBO เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบเทอร์โบ ความจุ 1.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ให้อัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 23.8 กม./ลิตร และรองรับน้ำมันทางเลือกสูงสุด E20
-1.0 V ราคา 629,000 บาท
-1.0 SV ราคา 679,000 บาท
-1.0 RS ราคา 749,000 บาท
รุ่นไฮบริด e:HEV ติดตั้งเคริ่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ความจุ 1.5 ลิตร Atkinson-cycle ให้กำลังสูงสุด 98 แรงม้า ที่ 5,600 – 6,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 127 นิวตัน-เมตร ที่ 4,500 – 5,000 รอบต่อนาที ทำงานคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูงสุด 109 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 253 นิวตัน-เมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ E-CVT พร้อมแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออน ให้แรงบิดมอเตอร์ไฟฟ้าสูงสุด 258 นิวตัน-เมตร มีอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 27.8 กม./ลิตร
-e:HEV SV ราคา 769,000 บาท
-e:HEV RS ราคา 839,000 บาท